วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แรงงานต่างชาติจะได้เพิ่มค่าจ้างอีกเดือนละ900 เหรียญ เป็น 18,780 เหรียญ มีผลปีใหม่นี้เป็นต้นไป

ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปีใหม่นี้เป็นต้นไป อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในไต้หวันจะได้รับการปรับขึ้นร้อยละ 5.03 หรือปรับขึ้น 900 เหรียญ จาก 17,880 เหรียญในปัจจุบัน เป็น 18,780 เหรียญไต้หวันต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็นคนงานท้องถิ่นหรือคนงานต่างชาติ หากทำงานในกิจการที่อยู่ในขอบข่ายการคุ้มครองของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน และมีค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะได้รับการปรับขึ้นเท่ากับอัตราค่าจ้างใหม่นี้ถ้วนหน้า ยกเว้นผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่ไม่อยู่ในขอบข่ายการคุ้มครองของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างจะปรับขึ้นค่าจ้างตามค่าจ้างขั้นต่ำใหม่หรือไม่ กฎหมายไม่ได้บังคับ

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่จะมีผลใช้ตั้งแต่ปีใหม่นี้นั้น เป็นผลจากมติในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ปีนี้ หลังผ่านการอนุมัติจากสภาบริหารแล้ว คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันประกาศเมื่อวันที่ 6

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จ้างตรงออนไลน์เริ่มเปิดบริการ 1 ม.ค. 55 คาดนายจ้างและแรงงานต่างชาติประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 63,000 เหรียญ

คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันประกาศว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป จะเปิดให้บริการนายจ้างจ้างตรงแรงงานต่างชาติทั้งคนเก่าและใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ หรือผ่านการคัดเลือกคนงานทางอินเตอร์เนท โดยไมผ่านการจัดส่งของบริษัทจัดหางาน ส่งผลให้นายจ้างและแรงงานต่างชาติประหยัดค่าบริการจัดหางานได้ไม่ต่ำกว่าคนละ 63,000 ไต้หวันขึ้นไป อีกทั้งประหยัดเวลาในการนำเข้าแรงงานต่างชาติ จาก 3 เดือนเหลือ 30 วัน


เว็บไซด์ของศูนย์บริการจ้างตรง
CLA กล่าวว่า จากราคาตลาดในปัจจุบัน การนำเข้าแรงงานต่างชาติตำแหน่งผู้อนุบาล นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบริการให้บริษัทจัดหางานที่ได้รับมอบหมายคนละประมาณ 20,000 เหรียญไต้หวัน แรงงานต่างชาติเองก็ต้องเสียให้ค่าหัวคิวให้แก่บริษัทจัดหางานคนละตั้งแต่ 40,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป อีกทั้งต้อง

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

CLA จะหารือการจำกัดเศรษฐีจ้างผู้อนุบาลต่างชาติในปลายเดือนธันวาคมนี้

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา ภริยาของนายกัว ไถหมิง อัครมหาเศรษฐีของไต้หวัน เจ้าของโรงงานฟอกซ์คอน ซึ่งเป็นโรงงานรับจ้างผลิตคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเลคทรอนิคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกประชาชนพบว่าใช้ผู้อนุบาลต่างชาติเดินตามช่วยถือข้าวของ ขณะช็อบปิ้งตามห้างสรรพสินค้าในกรุงไทเป เข้าข่ายใช้คนงานต่างชาติผิดตำแหน่งงาน ถือว่าผิดกฎหมาย จึงมีการร้องเรียน กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากวิจารณ์อย่างมาก นอกจากนี้ มักจะมีบรรดาไฮโซและดาราชื่อดัง ถูกร้องเรียนว่าใช้งานผู้อนุบาลอย่างผิดกฎหมาย และ CLA ก็ถูกล่าวหาว่า อนุมัติมั่วและปล่อยปละละเลยต่อการใช้งานแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะผู้อนุบาล ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ แต่กลับถูกเรียกให้ไปทำงานบ้าน ขายของ เลี้ยงลูก พาสุนัขไปเดินเล่น หรือให้เดินตามเป็นคนใช้ขณะคุณนายไปช็อบปิ้ง โดยกรณีของภริยานายกัว หลังตกเป็นข่าว ถูกกองแรงงาน เทศบาลกรุงไทเปลงโทษปรับ 30,000 เหรียญไต้หวัน หากทำผิดซ้ำสอง จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติ

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ระดับ ผอ. กองแรงงาน จาก 5 นครใหญ่ ได้แก่ กรุงไทเป นครนิวไทเป นครไทจง นครไถหนานและนครเกาสง ต่างเสนอต่อ CLA ว่า ควรจะจำกัดสิทธิในการยื่นขอว่าจ้างผู้อนุบาลต่างชาติสำหรับผู้มีฐานะมั่งคั่ง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ผู้มีสิทธิยื่นขอนำเข้าผู้อนุบาล

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จำนวนแรงงานต่างชาติในไต้หวันทะลุด่าน 420,000 คน ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คนงานอินโดครองสัดส่วน 40%

คณะกรรมการการแรงงาน หรือ CLAของไต้หวันเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จำนวนแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวัน พุ่งสูงถึง 420,931 คนแล้ว จัดเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในจำนวนนี้ คนงานอินโดนีเซียมีจำนวนมากที่สุด 172,068 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด รองลงมาคือเวียตนาม มีจำนวน 93,870 คน คิดเป็นร้อยละ 22อันดับ 3 ได้แก่แรงงานฟิลิปปินส์ มีจำนวน 82,850 คน ครองสัดส่วนร้อยละ 19.7 และอันดับสุดท้ายได้แก่คนงานไทย มีจำนวน 72,138 คน ครองสัดส่วนร้อยละ 17.13

CLA ระบุว่า แรงงานต่างชาติในไต้หวันแบ่งเป็นแรงงานในภาคการผลิตและแรงงานภาคสวัสดิการสังคม โดยแรงงานภาคการผลิต ได้แก่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ตามโรงงานและไซต์งานก่อสร้าง มีจำนวน 224,176 คน แม้ว่าแรงานไทยจะมีจำนวนน้อยที่สุดอยู่ในอันดับสุดท้ายของตาราง แต่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในในภาคการผลิต กลับเป็นแรงงานไทยมาเป็นอันดับ 1 โดยมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในภาคการผลิตถึง 71020 คน รองลงมาได้แก่แรงงานฟิลิปินส์ 59,492 คน ส่วนแรงงานในภาคสวัสดิการสังคม เช่นผู้อนุบาล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วปีละกว่า 10,000 คน ส่งผลให้มีจำนวน 196,755 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานอินโดนีเซียถึง 145,981 ครองสัดส่วนเกือบ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

CLA ผ่อนปรนคุณสมบัติแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก คนงานไทยที่ตายด้วยโรคไหลตาย มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนเท่ากับผู้ที่ตายในหน้าที่

ไม่ว่าจะแรงงานท้องถิ่นหรือต่างชาติ หากเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยแรงงานรวมทั้งหมด 45 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน แต่ที่ผ่านมา แรงงานที่ทำงานหนัก มีเวลาพักผ่อนน้อย จู่ๆ ก็มาเสียชีวิต โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ อาจเสียชีวิตขณะนอนหลับ หรือเสียชีวิตขณะทำงาน โดยมากจะถูกตีความไปว่า เสียชีวิตจากโรคทั่วไป จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยตามอายุการเข้ากองทุน กล่าวคือไม่ถึง 1 ปี จะได้รับ 15 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน เกิน 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี จะได้รับ 25 เท่าของค่าจ้าง อายุการเข้ากองทุนเกิน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนเท่ากับ 35 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน ทั้งที่การเสียชีวิตอาจสืบเนื่องจากการทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 2554 ที่ผ่านมา CLA ได้ผ่อนปรนคุณสมบัติแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก โดยไม่ต้องเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่นจะจะมีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักจำนวนมาก จนมีคำใช้เรียกโดยเฉพาะว่า Karochi ถ้าเป็นไทยก็ตรงตัวว่า เสียชีวิตจากการทำงานหนัก หรือที่เรียกว่า "ไหลตาย"นั่นเอง โดย CLA จะมีการตรวจสอบหาสาเหตุของการเสียชีวิต หากยืนยัน

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นายจ้างไต้หวันร้อยละ 85 ยินดีจ่ายค่าจ้างแก่ผู้อนุบาลต่างชาติตามค่าจ้างขั้นต่ำ

รายงานสำรวจฉบับล่าสุดที่จัดทำโดยคณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันพบว่า นายจ้างส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้อนุบาล ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศ รายงานสำรวจที่ดำเนินการสอบถามนายจ้างที่ว่าจ้างผู้อนุบาลต่างชาติจำนวน 5,064 ราย ปรากฎว่า ร้อยละ 85 ตอบว่า ยินดีจะจ่ายค่าจ้างตามค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่ร้อยละ 64 ยินยอมให้ผู้อนุบาลต่างชาติมีเวลาหยุดพักได้ หลังจากที่ทำงานต่อเนื่องในแต่ละวัน แต่เมื่อถามว่า มีความประสงค์จะหันมาว่าจ้างผู้อนุบาลท้องถิ่นก่อนหรือไม่ มีเพียงร้อยละ 27 เท่านั้นที่ตอบว่า จะลองดู แสดงว่า ความต้องการที่จะว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นของนายจ้างไต้หวัน อยู่ในระดับไม่สูง ส่วนใหญ่ยังต้องการพึ่งพาผู้อนุบาลต่างชาติ


เนื่องจากผู้อนุบาลที่ทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้าง ยังไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายมาตรฐานแรงงาน ดังนั้น ปัจจุบัน ผู้อนุบาลต่างชาติ จึงยังไม่ได้รับการปรับขึ้นเงินค่าจ้าง ส่วนใหญ่ยังได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,840 เหรียญไต้หวัน ยกเว้นผู้อนุบาลไทยที่สำนักงานแรงงานไทย กำหนดให้ค่าจ้างเป็นไปตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ด้าน CLA ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างร่างกฎหมายคุ้มครองผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้านเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ได้รับค่าจ้างตามค่าจ้างขั้นต่ำ จากการสำรวจในประเด็นนี้ นายจ้างไต้หวันร้อยละ 85.42 เห็นว่า การจ่ายค่าจ้างแก่ผู้อนุบาลต่างชาติตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล มีเพียงร้อยละ 14.58 ที่คัดค้าน แสดงว่า นายจ้างส่วนใหญ่ยอมรับได้ ที่จะให้ผู้อนุบาลได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

CLA สำรวจพบ ผู้อนุบาลต่างชาติ มีรายได้เฉลี่ยแค่ชั่วโมงละ 47.3 เหรียญเท่านั้น

เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานและบริหารดูแลแรงงานต่างชาติ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา คณะกรรมการการแรงงาน หรือ CLA ของไต้หวันดำเนินการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลทุก 2 ปี และการสำรวจครั้งล่าสุด ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2010 สิ้นสุดลงเมื่อกลางเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจนายจ้างจำนวน 12,265 ราย ประกอบด้วย ภาคการผลิต 7,201 ราย และนายจ้างของผู้อนุบาลต่างชาติ 5,064 ราย พบว่า แรงงานต่างชาติในภาคการผลิตเฉลี่ยทำงานวันละ 10.2 ชั่วโมง ค่าจ้างโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 23,133 เหรียญต่อคนต่อเดือน ขณะที่ผู้อนุบาลต่างชาติต้องทำงานวันละ 12.9 ชั่วโมง ค่าจ้างโดยเฉลี่ย 18,341 เหรียญไต้หวัน และมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ หากคิดคำนวณชั่วโมงทำงานของผู้อนุบาลต่างชาติในแต่ละเดือน จะสูงถึง 387 ชั่วโมง ขณะที่มีรายได้เฉลี่ยตลอดเดือน 18,341 เหรียญ คิดเป็นรายชั่วโมง มีแค่ 47.3 เหรียญเท่านั้น ถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก


รายงานสำรวจฉบับนี้ยังพบว่า รายได้ของแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 23,133 เหรียญต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นกว่าการสำรวจครั้งที่แล้ว คือเมื่อปี 2009 เล็กน้อย กล่าวคือเพิ่มขึ้น 47.3 เหรียญ ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือน 17,673 เหรียญ ค่าจ้างทำงานล่าวเวลา 4,925 เหรียญ เงินโบนัสและเบี้ยเลี้ยง 535 เหรียญ และในภาคการผลิต แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีรายได้สูงกว่า คือเฉลี่ยเดือนละ 23,168 เหรียญ ขณะที่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไซต์งานก่อสร้าง จะมีรายได้น้อยกว่า 1,870 เหรียญ เฉลี่ยอยู่ที่ 21,298 เหรียญ

ขณะที่ผู้อนุบาลต่างชาติที่ทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้าง ต้องทำงานเฉลี่ยวันละ 12.9 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าจ้างล่วงเวลา เนื่องจากไม่ได้อยู่ในการบังคับใช้ของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน ส่งผลให้แต่ละเดือน มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 18,341 เหรียญ โดยจำแนกออกเป็น เงินเดือน 15,983 เหรียญ ค่าโอทีในวันหยุดประจำสัปดาห์ 2,027 เหรียญ คิดเป็นชั่วโมงละ 47.3 เหรียญเท่านั้น

รายงานสำรวจฉบับนี้ยังพบว่า มีนายจ้างเพียงร้อยละ 5.6 ที่อนุญาตให้ผู้อนุบาลต่างชาติหยุดพักสัปดาห์ละ 1 วัน ร้อยละ 52 อนุญาตให้หยุดพักได้เป็นบางช่วงเวลา ขณะที่นายจ้างร้อยละ 42.4 ไม่ได้ให้ผู้อนุบาลต่างชาติหยุดพักเลย

ส่วนประเด็นที่สมาชิกในครอบครัวของนายจ้าง ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยผลัดเปลี่ยนกันดูแลคนป่วยกับผู้อนุบาลต่างชาติหรือไม่ ร้อยละ 62.2 ตอบว่า มี เฉลี่ยผลัดเปลี่ยนกับผู้อนุบาลต่างชาติดูแลคนป่วย วันละ 5 ชั่วโมง ส่วนนายจ้างร้อยละ 37 ปล่อยให้ผู้อนุบาลต่างชาติดูแลคนป่วยตามลำพัง

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ท่าอากาศยานนานาชาติประกาศหา เจ้าของเงินไทย 200,000 บาท ที่ทำตกหล่นในห้องซ้วมสนามบิน ให้ไปรับคืนด่วน

ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน ก่อนหน้านี้เพิ่งจะมีผู้โดยสารทำเงินตกหล่น 10,000 เหรียญสหรัฐ มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ พนักงานทำความสะอาด ขณะที่ทำความสะอาดห้องน้ำ ภายในอาคารเทอร์มินอล 1 ท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน พบถุงพลาสติกใบหนึ่งทิ้งอยู่ในห้องส้วม เมื่อเปิดดู มีเงินไทยแบ๊งค์พันปึกเบอเร่ออยู่ข้างใน พนักงานทำความสะอาดจึงรีบนำไปมอบให้ตำรวจท่าอากาศยาน เพื่อคืนให้กับเจ้าของ ทางตำรวจตรวจนับดูเงินไทยในถุงพลาสติกพบว่า มีจำนวน 200,000 บาท ใส่ไว้ในถุงพลาสติกธรรมดาแบบมีหูหิ้ว สันนิษฐานว่า เจ้าของน่าจะเป็นแรงงานไทยที่เพิ่งจะแลกเงินบาทจากที่สนามบิน เพื่อนำกลับบ้าน แต่ลืมไว้ในห้องน้ำ ทางตำรวจนอกจากจะประกาศหาเจ้าของแล้ว ยังได้ตรวจสอบจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อตรวจหาเจ้าของต่อไป

ตามกฎหมายของไต้หวัน หากประกาศไปแล้ว 6 เดือน ไม่มีเจ้าของมารับคืน ทรัพย์สินหรือสิ่งของที่เก็บได้ จะตกไปเป็นของผู้เก็บได้อย่างถูกกฎหมาย ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่าเงินตกหล่นไป 200,000 บาท ก็รีบไปรับคืน แต่ขอเตือนว่า ผู้ไม่ใช่เจ้าของ อย่าแอบอ้างนะครับ เพราะตำรวจเขามีวิธีการตรวจสอบว่าเป็นเจ้าของจริงหรือแอบอ้าง ขืนมั่วอาจเจอคุกนะครับ

แหล่งที่มา : Rti
วันที่ : 18 พ.ค. 2554

CLA ให้เงินรางวัลนำจับการทารุณและล่วงละเมิดทางเพศต่อแรงงานต่างชาติ สูงสุด 50,000 เหรียญ

เพื่อจะลดปัญหาการทำทารุณกรรม หรือแม้กระทั่งบังคับขู่เข็ญให้แรงงานต่างชาติที่นับถือศาสนาอิสลามทานเนื้อหมูเป็นต้น คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวัน ได้ประกาศระเบียบการให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากเพิ่มเงินรางวัลนำจับคนงานต่างชาติผิดกฎหมายและนายหน้าเถื่อนโดยคิดเป็นรายหัวกันแล้ว ยังได้เพิ่มรางวัลนำจับนายจ้างที่ปฏิบัติอย่างโหดร้าย ทรมาน จำกัดเสรีภาพ ไม่เคารพต่อศาสนาหรือล่วงละเมิดทางเพศต่อแรงงานต่างชาติด้วย หากเรื่องที่แจ้งเป็นความจริง ผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับเงินรางวัลสูงสุด 50,000 เหรียญไต้หวันเลยทีเดียว เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2554 เป็นต้นไป

ตามระเบียบการให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำที่ผิดกฎหมายของ CLA ฉบับใหม่นี้ ผู้แจ้งร่องรอยหรือลาดเลาของแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย หากนำไปสู่การจับกุม จะได้รับเงินรางวัลจากเดิมที่กำหนด 2,000 เหรียญ เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 เหรียญ สำหรับคนงานต่างชาติผิดกฎหมาย 1 คน แต่หากนำไปสู่การจับกุมคนงานต่างชาติผิดกฎหมาย

CLA เตือนระวังนายหน้าเถื่อนออกอาละวาด แรงงานอินโดถูกคนชาติเดียวกันต้มตุ๋นไปแล้วหลายราย

ช่วงนี้มีขบวนการมิจฉาชีพใช้วิธีแจกแผ่นพับโดยอ้างว่า สามารถทำเรื่องให้ญาติพี่น้องของแรงงานต่างชาติมาทำงานที่ไต้หวันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปรากฎว่ามีแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานอินโดนีเซียตกเป็นเหยื่อสูญเงินกว่า 2 แสนเหรียญไปแล้วหลายราย ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกิจการแรงงานต่างชาติ จึงได้ทำหนังสือแจ้งคณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวัน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างชาติทราบโดยทั่วกัน

ในหนังสือเตือนของ CLA ยกตัวอย่างเหยื่อรายหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงงานอินโดนีเซียที่เดินทางมาทำงานที่ไต้หวันในตำแหน่งผู้อนุบาลในกรุงไทเป ตามปกติมักจะไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะใกล้บ้านนายจ้าง เมื่อเดือนธันวาคมปี 2553 ขณะที่ผู้อนุบาลอินโดนีเซียผู้นี้เดินพักผ่อนหย่อนใจอยูที่สวนสาธารณะตามเคย เห็นแผ่นโฆษณาใบหนึ่ง เขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย สาระสำคัญเขียนว่า สามารถช่วยเหลือให้ญาติ

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

สส.พรรครัฐบาล เสนอร่างกฎหมายคุ้มครองผู้อนุบาลต่างชาติต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ คาดจะผ่านสภาได้ในปีนี้

เพื่อป้องกันผู้อนุบาลต่างชาติที่ทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้างกลายเป็นแม่บ้านส่วนตัว นางสาวเจิ้งลี่เหวิน สมาชิกสภานิติบัญญัติสังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลร่วมกับสมาชิกสภานิติบัญญัติคนอื่นๆ ร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของแรงงานที่ทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้าง โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้แรงงานแต่ละวันจะต้องได้รับเวลาพักผ่อนต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ทุกๆ 7 วันจะต้องมีวันหยุดพักผ่อนอย่างน้อย 1 วัน ขณะเดียวกันนายจ้างต้องให้วันหยุดพักพิเศษประจำปีโดยมีค่าจ้างตามอายุงานด้วย ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษปรับเงิน 6,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป ไม่เกิน 60,000 เหรียญ

ร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในบ้านนายจ้างฉบับนี้ ได้เข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาอภิปรายของคณะกรรมาธิการสภานิติบัญญัติแล้ว นางเจิ้งลี่เหวิน สส. ผู้เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้กล่าวว่า หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา จะสามารถให้การคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในบ้านนาย

ในอนาคตแรงงานต่างชาติที่จะเดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน จะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ขณะยื่นขอวีซ่าเข้าเมือง

เพื่อรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ ป้องกันแรงงานต่างชาติปลอมแปลงเอกสารเข้าสู่ประเทศ ในอนาคต ชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าสู่ไต้หวัน อาจจะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ขณะไปยื่นขอตรวจลงตรา หรือขอวีซ่าเข้าเมือง โดยมาตรการนี้ จะเริ่มใช้กับแรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน

กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันสาธารณรัฐจีนเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการตรวจลงตราของชาวต่างชาติฉบับแก้ไข โดยจะมีการผ่อนปรนกฎระเบียบในการขอวีซ่าเข้าเมืองสำหรับชาวต่างชาติที่มีทักษะเฉพาะด้าน เพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติให้มาทำงานหรือพำนักในไต้หวันได้ง่ายและมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะผ่อนผันการขอตรวจลงตรา สำหรับชาวต่างชาติที่มีคู่สมรสหรือหรือญาติสายเลือดตรงป่วย

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

แรงงานต่างชาติในไต้หวันทำลายสถิติ ตัวเลขพุ่งทะลุ 380,000 คน คนงานอินโดครองสัดส่วนมากสุดถึง 40%

สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรงมากขึ้น ประกอบกับจำนวนประชากรสูงวัยและผู้ป่วยที่ต้องการผู้อนุบาลมาดูแลเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ยอดจำนวนแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวัน ณ สิ้นเดือนม.ค. 2554 สูงเป็นประวัติการณ์ มาอยู่ที่ 383,164 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานอินโดนีเซียสูงถึง 159,367 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด ส่งผลให้คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันกังวลว่า หากแรงงานต่างชาติกระจุกตัวอยู่ที่ชาติใดชาติหนึ่งมากเกินไป อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติได้ ดังนั้น ขณะนี้ CLA จึงพยายามหาทางโน้มน้าวให้นายจ้างกระจายการนำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

ไต้หวันเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างชาติตั้งแต่ปี 2532 เพียง 10 ปีแรกของการเปิดให้นำเข้า จำนวนแรงงานต่างชาติได้พุ่งทะลุหลัก 300,000 คน โดยภาคการผลิตซึ่งเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างชาติเป็นลำดับแรก เนื่องจากประสบภาวะขาดแคลนแรง

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไต้หวันจัดงานสงกรานต์ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ชุ่มช่ำทั่วเกาะ

คลิกชมคลิปและภาพบรรยากาศ
งานสงกรานต์ในไต้หวัน
เทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทย เป็นโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวจะได้พบกันอย่างพร้อมหน้า สำหรับแรงงานไทยร่วม 70,000คนในไต้หวันแม้จะไม่สามารถเดินทาง กลับไปร่วมฉลองกับครอบครัวได้ แต่หน่วยงานไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไต้หวันก็ได้ร่วมมือกันจัดงานฉลองเทศกาลสงกรานต์ให้กับแรงงานไทย เพื่อให้ความบันเทิง ผ่อนคลายความคิดถึงบ้าน รวมทั้งความเครียดจากการตรากตรำทำงานตลอดปีที่ผ่านมา

การจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในไต้หวันได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 13แล้ว โดยจัดขึ้นที่เมืองเถาหยวนก่อนเป็นแห่งแรก ต่อมามีการขยายไปยังเมืองต่างๆ ทั่วไต้หวัน จนกลายเป็นเทศกาลของต่างชาติที่ชาวไต้หวันรู้จักและนิยมชื่นชอบมากที่สุดงานหนึ่งไปแล้ว และรัฐบาลเมืองต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการการแรงงานก็ได้ให้ความสำคัญกับการจัดงานสงกรานต์ โดยจะจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดงานทุกปี และสำหรับปีนี้ก็เช่นกัน มีกำหนดจะจัดงานสงกรานต์ขึ้นทั่วไต้หวันถึง 5 แห่ง เริ่มจากเที่ยงวันเสาร์ที่ 9 เม.ย. กองแรงงาน กรุงไทเปจะจัดงานสงกรานต์ขึ้นที่ Shin Kong Mitsukoshi Xinyi Plaza ข้างห้างสรรพสินค้า Shin Kong Mitsukoshi ใกล้ที่ทำการกรุงไทเป ในงานจะมีการแสดงของคลื่นลูกใหม่วงสุนทราภรณ์ คณะหุ่นละครเล็ก และคณะนาฏศิลป์สบันงาจากจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารไทยไปออกร้านกันหลาย

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฟิลิปปินส์แสดงท่าทีเป็นมิตรกับไต้หวัน CLA ยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าแรงงานฟิลิปปินส์

หลังจากที่ไต้หวันประกาศระงับการนำเข้าแรงงานฟิลิปปินส์ชั่วคราว ด้วยการขยายเวลาการอนุมัติคำร้องขอนำเข้าแรงงานฟิลิปปินส์ จากปกติ 7-12 วันทำการเป็น 4 เดือน เพื่อตอบโต้กรณีที่รัฐบาลฟิลิปปินส์จับนักต้มตุ๋นชาวไต้หวัน 14 คน ส่งให้จีนแผ่นดินใหญ่ดำเนินการทางกฎหมาย โดยอ้างว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีเอกสารการเดินทาง จึงเนรเทศส่งให้จีนแผ่นดินใหญ่ ไม่แยแสต่อข้อเรียกร้องที่ขอให้ส่งตัวกลับมาดำเนินคดีที่ไต้หวัน ทำให้รัฐบาลไต้หวันแสดงความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับเรียกตัวผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปในกรุงมะนิลา ซึ่งมีฐานะเป็นฑูตไต้หวันประจำประเทศฟิลิปปินส์กลับประเทศ และตัดโครงการความร่วมมือและทุนการศึกษาที่ให้กับ

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเดินทางมาตรวจเยี่ยมแรงงานไทยในไต้หวัน พร้อมร่วมมือกับ CLA ดำเนินการเฉียบขาดกับบริษัทจัดหางานที่เก็บค่าหัวคิวแพง

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. กระทรวงแรงงานของไทยฝ่าอุปสรรคทางด้านการเมือง นำคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงแรงงาน เดินทางมาตรวจเยี่ยมแรงงานไทยถึงที่ไต้หวัน จัดเป็น รมว. กระทรวงแรงงานคนแรกที่เดินทางมาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่พี่น้องแรงงานไทยอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกันเพื่อขยายตลาดแรงงานและหาตำแหน่งงานว่าง รองรับแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากกรณีในลิเบียและแรงงานไทยที่ต้องการไปทำงานยังต่างประเทศเพิ่มเติม


การเดินทางเยือนไต้หวันครั้งนี้ มีโอกาสไปตรวจเยี่ยมแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ที่บริษัทชุนหยวน สตีล ในเมืองหลงถาน และคนงานก่อสร้างที่บริษัทแพนเอเชีย เอ็นจิเนียริ่ง คอนสตรัคชั่น และพบปะกับแรงงานไทยกว่า 100 คน ณ จุดนัดพบที่แรงงานไทยมักจะไปรวมตัวกันในช่วงพักผ่อนที่บริเวณย่านสถานีรถไฟ เพื่อรับรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เตือนแรงงานไทยเปลี่ยนชื่อหวังทำงานเกิน 9 ปี อาจถูกดำเนินคดีข้อหาแปลอมแปลงเอกสารและแจ้งข้อมูลเท็จ

ปัจจุบันกฎหมายการจ้างงานไต้หวันอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานได้ไม่เกิน 9 ปี แต่มีคนงานไทยที่ทำงานใกล้จะครบหรือครบ 9 ปีแล้ว และประสงค์จะกลับมาทำงานในไต้หวันอีก หากใช้วิธีเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล หรือกระทั่งสวมบัตรประชาชนคนอื่นกลับเข้ามา ระวังจะถูกดำเนินคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารและแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน โดยช่วงไม่กี่เดือนมานี้ พบว่ามีแรงงานไทยถูกส่งกลับหรือกระทั่งถูกดำเนินคดีแล้วหลายราย

ล่าสุดเกิดขึ้นที่เมืองไทจุง นายอมฤต สุรภีร์ อายุ 33 ปี ภูมิลำเนาจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเคยเดินทางมาทำงานที่ไต้หวันแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลาทำงาน 8 ปี 9 เดือนเศษ ได้เปลี่ยนชื่อทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ แล้วเดินเรื่องกลับมาทำงานกับนายจ้างรายเดิมเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้นบริษัทจัดหางานพาไปพิมพ์ลายนิ้วมือ และยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ที่สำนัก

ศาลสูงไต้หวันตัดสินจำคุกตลอดชีวิตคนงานเวียดนาม มือวางเพลิงเผาแรงงานไทย 6 ศพ

เหตุการณ์ที่คนงานเวียดนามไม่พอใจแพ้การพนัน ซื้อน้ำมันเบนซินราดแล้วจุดไฟเผาร้านคาราโอเกะย่างสดคนงานไทยไปถึง 6 ศพ ยาดเจ็บสาหัสอีก 4 คน ซึ่งเป็นคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญทั่วไต้หวันเมื่อปลายปี 2552 เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมานี้ ศาลสูงไต้หวันได้พิพากษาแล้ว โดยยังคงยืนตามคำพิพากษาเดิมของศาลท้องถิ่น ตัดสินจำคุกนาย Tran Quang Cuong แรงงานผิดกฎหมายชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ต้องหาวางเพลิงตลอดชีวิต ข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา นาย Hoang Duy Chung ถูกตัดสินจำคุกจาก 10 ปี ลดลงเป็น 7 ปี 6 เดือน ข้อหาช่วยเหลือนาย TRAN ฆ่าคนตาย ส่วนนาง Nguyen ThiNhi แฟนสาวชาติเดียวกันของนาย Tran ถูกตัดสินจำคุก 8 เดือน ข้อหาให้การเท็จ แต่ทั้งสามยังมีโอกาสอุทธรณ์ได้อีก คำพิพากษาของศาลสูงไต้หวันระบุว่า

ผู้ต้องหาชาวเวียดนามเนื่องจากไม่พอใจที่เสียพนันให้คนงานไทยเป็นเงิน 10,000 เหรียญเศษ ขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ออกไปซื้อน้ำมันเบนซินที่ปั้มใกล้เคียงในปริมาณ 15 ลิตร จากนั้นกลับมาที่ร้าน จัดการราดน้ำมันทั่วแล้วจุดไฟเผา ทำให้คนงานไทยถูกย่างสดในที่เกิดเหตุ 3 ศพ และไปเสียชีวิต

จับพ่อค้าใจดำ ปลอมเครื่องสำอางขายแรงงานต่างชาติ จนเสียโฉมไปแล้วหลายคน ตำรวจบุกทะลายจับกุมตัวหัวโจกได้แล้ว

แรงงานต่างชาติโดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามระวังใบหน้าจะเสียโฉม หากซื้อครีมทาหน้าที่วางขายตามร้านอาหาร หรือร้านจำหน่ายสินค้าสำหรับแรงงานต่างชาติ เพราะเป็นของปลอมกันเยอะ โดยก่อนหน้านี้ เคยมีแรงงานหญิงอินโดนีเซีย 3 รายทะยอยเข้าร้องเรียนต่อกองสาธารณสุขเถาหยวนว่า ซื้อครีมทาหน้ายี่ห้อ Macalana จากร้านขายของสำหรับแรงงานต่างชาติ แต่หลังจากทาแล้วไม่กี่วัน ใบหน้าก็บวมเป่ง มีอาการคัน ต่อมาเริ่มเน่า จนต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล หลังจากกองสาธารณสุขนำครีมทาหน้ายี่ห้อดังกล่าวไปตรวจสอบส่วนผสม พบปรอทและสารไฮโดรควิโนน ซึ่งเป็นสารมีพิษและอันตรายต่อสุขภาพร่างกายคนปนเปื้อนในปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 460 เท่า จึงแจ้งอัยการทราบ หลังดำเนินการตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา อัยการจากสำนักอัยการศาลท้องถิ่นเมืองเถาหยวนนำกำลังตำรวจหลายสิบนาย แบ่งออกเป็นหลายจุด ตรวจค้นร้านอาหารและร้านซูปเปอร์ที่จำหน่ายสินค้าให้แรงงานต่างชาติ แถวๆ ไทเปและเถาหยวน ตรวจพบเครื่องสำอางมีปัญหากว่า 12,000กระปุก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสำอางยี่ห้อ Macalana ซึ่งโด่งดังมากในหมู่แรงงานต่าง

CLA ผลักดันโครงการส่งเสริมการจ้างงานท้องถิ่นและต่างชาติพร้อมกัน ด้วยการให้เงินอุดหนุนคนงานท้องถิ่นเดือนละ 3-5,000 เหรียญไต้หวัน

คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันเตรียมร่างแผนการทำงานประจำปี โดยในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายแรงงานต่างชาติ จะผลักดันให้มีการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นและต่างชาติพร้อมๆ กัน เช่น จะส่งเสริมให้ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ จ้างผู้อนุบาลท้องถิ่นให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันศูนย์ดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะพึ่งพาแต่แรงงานต่างชาติเท่านั้น แม้กระทรวงมหาดไทยจะผลักดันระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาวตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว แต่ประสบปัญหาขาดแคลนผู้อนุบาล เนื่องจากชาวไต้หวันไม่นิยมทำงานประเภทนี้ ทำให้ระบบดังกล่าว ไม่มีผลคืบหน้าเท่าที่ควร จำนวนผู้อนุบาลที่ผ่านการฝึกอบรมทั้งที่ทำงานเต็มเวลาและอาสาสมัครที่ทำงานระยะสั้นมีเพียง 4,000 คนเศษ ไม่สามารถรองรับงานดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนสูงถึง 150,000 คนได้ ทำให้ต้องนำเข้าผู้อนุบาลต่างชาติ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนสูงกว่า 180,000 คนแล้ว ขณะที่คนว่างงานในไต้หวันยังมีจำนวนสูงกว่า 500,000 คน ประกอบกับโครงสร้างประชากรในไต้หวัน นับวันจะมีผู้สูงอายุและผู้

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

การขยายเวลาทำงานของแรงงานต่างชาติเป็น 12 ปี ไม่ผ่านสภา ต้องรอลุ้นต่อในการประชุมสมัยหน้า

ระยะเวลาทำงานในไต้หวันของแรงงานต่างชาติที่หลายฝ่ายคาดหวังว่า จะได้รับการขยายจาก 9 ปี ในปัจจุบันออกไปเป็น 12 นั้น ส.ส. หลายคนยังกังขาว่า จะส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของแรงงานท้องถิ่น ขณะเดียวกันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะยาวของรัฐบาล ทำให้การหารือแก้ไขกฎหมายขยายเวลาทำงานของแรงงานต่างชาติไม่สามารถตกลงกันได้ จำเป็นต้องไปหารือกันต่อในที่ประชุมสมัยหน้า ซึ่งจะเปิดการประชุมหลังเทศกาลตรุษจีนในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้

ก่อนหน้านี้ นายเฉินฉางเหวิน ทนายความชื่อดัง ขณะเดียวกันเป็นประธานสภากาชาดไต้หวัน ซึ่งมีลูกชายที่ต้องพึ่งพาผู้อนุบาลฟิลิปินส์ที่กำลังจะทำงานครบ 9 ปี ได้ออกมาเรียกร้องขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ เห็นใจครอบครัวที่มีผู้ป่วยและคนชรา ผ่านกฎหมายขยายเวลาทำงานของผู้อนุบาลให้เป็น 12 ปี เขากล่าวว่า ลูกชายซึ่งพิการทางสมอง ไม่อาจขาดผู้อนุบาลที่ดูแลเขาได้แม้แต่วันเดียว และผู้อนุบาลฟิลิปปินส์ที่ดูแลบุตรชายตลอด 24 ชั่วโมงมาเป็นเวลา 9 ปี มีความสำคัญต่อบุตรมากกว่าผู้เป็นพ่อเสียอีก คำเรียกร้องของประธานสภากาชาดไต้หวันดังกล่าว กลายเป็นข่าวดังและเป็นประเด็นที่สังคมไต้หวันนำมาพูดถึงอย่างมาก บรรดานาย

กระทรวงแรงงานของไทยเผย ไต้หวันยังคงครองแชมป์ประเทศใฝ่ฝันของนักรบแรงงานไทย

กระทรวงแรงงาน สรุปข้อมูลคนหางานเดินทางไปทำงานต่างประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนพฤศจิกายน 2553พบว่า มีคนหางานมาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 115,773 คน แยกเป็นชาย 94,277 คน หญิง 21,496 คน ประเทศที่คนหางานได้รับอนุญาต ให้เดินทางไปทำงาน 5 อันดับแรก คือ ไต้หวัน รองลงมา คือ ญี่ปุ่น อิสราเอล ลิเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมาณการว่าจะมีรายได้ส่งกลับประเทศประมาณ 51,176 ล้านบาท

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยผลสรุปข้อมูลคนหางานเดินทางไปทำงานต่างประเทศตามที่กรมการจัดหางานเสนอในที่ประชุมกระทรวงแรงงาน ณ เดือนพฤศจิกายน 2553 ว่า มีคนหางานมาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศทั้งสิ้น จำนวน 115,773 คน เป็นผู้มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จำนวน 52,210 คน ประเทศที่ผู้ลงทะเบียนนิยมไปทำงานมากที่สุด

เมืองจางฮั่วทุ่มงบถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี บันทึกการทำงานของแรงงานต่างชาติ พร้อมเรียกร้องชาวไต้หวันเป็นมิตรกับแรงงานต่างชาติ

เพื่อให้ชาวเมืองจางฮั่วได้รู้จัก เข้าใจและปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติอย่างเป็นมิตร รัฐบาลเมืองจางฮั่วได้จัดสรรงบประมาณถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี บันทึกชีวิตจริงของการทำงานและความสัมพันธ์กับนายจ้างของแรงงานไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนามชาติละ 1คน ความยาว 42 นาทีและนำออกฉายรอบปฐมทัศน์ ณ อาคารที่ทำการรัฐบาลเมืองจางฮั่ว เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. และนำออกแพร่ภาพทางทีวีเมื่อวันที่ 25 และ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา

ภาพถ่ายในงานแถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์สารคดี
บันทึกการทำงานของแรงงานต่างชาติ
แถวหลังคนกลาง(คนสูง)ได้แก่นายหยางจ้ง รองผู้ว่าการเมืองจางฮั่ว
ส่วนนายเรืองศักดิ์ยืนอยู่แถวหลังคนขวาสุด
ในพิธีเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ นายหยางจ้ง รองผู้ว่าการเมืองจางฮั่วกล่าวว่า ภาคการผลิตมีความสำคัญต่อเมืองจางฮั่วอย่างยิ่ง และการพัฒนาภาคการผลิตให้เจริญรุ่งเรือง นอกจากแรงงานท้องถิ่นแล้ว ยังต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ โดยปัจจุบัน มีแรงงานต่างชาติทำงานอยู่ในเมืองจางฮั่วจำนวน 25,865 คน แบ่งเป็นคนงานในภาคการผลิต 17,792 คนและผู้อนุบาล 8,073 คน พวกเขากระจายทำงานอยู่ตามโรงงานและครอบครัว ช่วยเหลือกิจการของผู้ประกอบการและดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุในเมืองจางฮั่ว ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งความโอบอ้อมอารีย์ และเป็นเมืองแห่งความสุข ทีมงานรัฐบาล