คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันเตรียมร่างแผนการทำงานประจำปี โดยในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายแรงงานต่างชาติ จะผลักดันให้มีการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นและต่างชาติพร้อมๆ กัน เช่น จะส่งเสริมให้ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ จ้างผู้อนุบาลท้องถิ่นให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันศูนย์ดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะพึ่งพาแต่แรงงานต่างชาติเท่านั้น แม้กระทรวงมหาดไทยจะผลักดันระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาวตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว แต่ประสบปัญหาขาดแคลนผู้อนุบาล เนื่องจากชาวไต้หวันไม่นิยมทำงานประเภทนี้ ทำให้ระบบดังกล่าว ไม่มีผลคืบหน้าเท่าที่ควร จำนวนผู้อนุบาลที่ผ่านการฝึกอบรมทั้งที่ทำงานเต็มเวลาและอาสาสมัครที่ทำงานระยะสั้นมีเพียง 4,000 คนเศษ ไม่สามารถรองรับงานดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนสูงถึง 150,000 คนได้ ทำให้ต้องนำเข้าผู้อนุบาลต่างชาติ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนสูงกว่า 180,000 คนแล้ว ขณะที่คนว่างงานในไต้หวันยังมีจำนวนสูงกว่า 500,000 คน ประกอบกับโครงสร้างประชากรในไต้หวัน นับวันจะมีผู้สูงอายุและผู้
ป่วยที่ต้องการผู้อนุบาลมาดูแลมากยิ่งขึ้น หากสามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหันมาว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นไปพร้อมๆ กับการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ ไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาขาดแคลนผู้อนุบาลได้เท่านั้น ยังจะลดอัตราการว่างงานและควบคุมจำนวนผู้อนุบาลต่างชาติ ไม่ให้สูงเกินไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้อนุบาลต่างชาติมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โดยในช่วงกลางวันอาจจะให้ผู้อนุบาลท้องถิ่นรับผิดชอบ ส่วนผู้อนุบาลต่างชาติทำงานกะกลางคืน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม CLA จะต้องหามาตรการช่วยเหลือต้นทุนด้านแรงงานของนายจ้าง ซึ่งเกิดจากค่าจ้างของคนงานท้องถิ่นที่สูงกว่าแรงงานต่างชาติ 2-3 เท่าตัว เพื่อเป็นการจูงใจให้นายจ้างยินยอมว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นมากขึ้น
ป่วยที่ต้องการผู้อนุบาลมาดูแลมากยิ่งขึ้น หากสามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหันมาว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นไปพร้อมๆ กับการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ ไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาขาดแคลนผู้อนุบาลได้เท่านั้น ยังจะลดอัตราการว่างงานและควบคุมจำนวนผู้อนุบาลต่างชาติ ไม่ให้สูงเกินไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้อนุบาลต่างชาติมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โดยในช่วงกลางวันอาจจะให้ผู้อนุบาลท้องถิ่นรับผิดชอบ ส่วนผู้อนุบาลต่างชาติทำงานกะกลางคืน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม CLA จะต้องหามาตรการช่วยเหลือต้นทุนด้านแรงงานของนายจ้าง ซึ่งเกิดจากค่าจ้างของคนงานท้องถิ่นที่สูงกว่าแรงงานต่างชาติ 2-3 เท่าตัว เพื่อเป็นการจูงใจให้นายจ้างยินยอมว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นมากขึ้น
ด้านงานภาคการผลิต โดยเฉพาะโรงงานผลิตที่ถูกจัดอยู่ประเภท 3K ซึ่งมีลักษณะงานที่เป็นงานหนัก สกปรกและอันตราย เช่นโรงงานชุบ หล่อและหลอมโลหะ โรงงานฟอกย้อมและตกแต่งสำเร็จเป็นต้น มักจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานท้องถิ่นที่ไม่นิยมทำงานประเภทนี้ ส่งผลให้นายจ้างต้องยื่นขอนำเข้าแต่แรงงานต่างชาติ ในขณะที่นโยบายจำกัดจำนวนแรงงานต่างชาติ นับวันจะเข้มงวดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาอย่างหนัก ดังนั้น CLA จึงมีนโยบายแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นพร้อมๆ กับการจ้างงานแรงงานต่างชาติ โดย CLA จะให้เงินเพิ่มแก่ผู้ว่างงานที่เข้าทำงานในโรงงานประเภท 3K เมื่อรวมกับค่าจ้างที่ทางโรงงานจ่าย น่าจะเป็นแรงจุงใจให้คนงานท้องถิ่นเข้าทำงานมากขึ้น ทั้งนี้ CLA กล่าวว่า ในขั้นแรกจะทดลองโครงการตั้งแต่หลังเทศกาลตรุษจีนเป็นต้นไป โดยตั้งเป้าหมายว่าจะให้เงินช่วยเหลือแรงงานที่ว่างงานและได้สมัครเข้าทำงานในสถานประกอบการประเภท 3K จำนวน 500 คน ในอัตราคนละ 3,000 เหรียญไต้หวันต่อเดือน สำหรับการทำงานในเดือนที่ 1 – 3 และตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไปจะได้รับเงินเพิ่มจากรัฐบาล 5,000 เหรียญไต้หวันต่อคนต่อเดือน สูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ว่างงานที่ยินยอมเข้าทำงานในโรงงานประเภท 3K แต่ละเดือนนอกจากเงินค่าจ้างจากโรงงาน ยังจะได้รับเงินเพิ่มจาก CLA อีก ตั้งแต่ 3,000-5,000 ต่อเดือน รวมตลอดทั้งปี จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 56,000 เหรียญ คาดว่า น่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ว่างงานเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น นอกจากจะแก้ปัญหาการว่างงานได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างได้ด้วย
นายหลินซันกุ้ย อธิบดีกรมฝึกอาชีพของคณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA แถลงว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะช่วยเหลือผู้ว่างงานเข้าทำงานจำนวน 500 คน และจะทดลองในขั้นแรก 1 ปี เมื่อคนงานทำงานครบ 1 ปีแล้ว ความชำนาญและทักษะการทำงานน่าจะดีขึ้น โอกาสที่จะทำงานต่อไปมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง และหากได้ผลดี ก็จะขยายโครงการให้ใหญ่และครอบคลุมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม องค์กรตัวแทนฝ่ายแรงงานกล่าวแสดงความสงสัยว่า เนื่องจากค่าจ้างแรงงานต่างชาติถูกกว่ามาก ทำให้นายจ้างไม่สนใจในโครงการดังกล่าว โดยนายซุนโหยวเหลียน เลขาธิการแนวร่วมแรงงานไต้หวัน(台灣勞工陣線秘書長孫友聯) กล่าวว่า คณะกรรมการการแรงงานคิดแบบง่ายๆ โดยลืมไปแล้วว่า ต้นเหตุที่เปิดให้ผู้ประกอบการนำเข้าแรงงานต่างชาติมาจากอะไร ก็เพราะแรงงานท้องถิ่นไม่ประสงค์จะเข้าทำงานในโรงงานประเภทนี้ ซึ่งนอกจากงานหนัก สกปรกและอันตรายแล้ว ยังมีระบบสวัสดิการและค่าจ้างที่ไม่ดึงดูดใจด้วย ดังนั้นแม้ CLA จะให้เงินอุดหนุนอย่างไร หากผู้ประกอบการไม่ยอมลงทุนปรับปรุงสวัสดิการ สภาพแวดล้อมในที่ทำงานและยกระดับค่าจ้างให้สูงขึ้นแล้ว ความพยายามของ CLA คงจะประสบความสำเร็จได้ยาก
เพื่อให้นโยบายการนำเข้าแรงงานต่างชาติเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยให้อุตสาหกรรมที่เป็นงานหนัก สกปรกและมีความเสี่ยง หรือที่เรียกกันว่ากิจการ 3K ซึ่งขาดแคลนคนงานอย่างหนักสามารถว่าจ้างแรงงานต่างชาติได้มากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมไฮเทคนำเข้าแรงงานต่างชาติได้น้อยลง เป็นการเปิดโอกาสให้ว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นมากขึ้น คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันประกาศปรับโควตาแรงงานต่างชาติฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงสัดส่วนการอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างชาติจากปัจจุบัน 3 ระดับ ได้แก่ 15%, 18% และ 20% เป็น 5 ระดับ ได้แก่ 10%, 15%,20%,25% และ 35% เมื่อนำไปคูณกับจำนวนแรงงานท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันภัยแรงงาน ก็คือตัวเลขคนงานต่างชาติที่จะได้รับอนุญาตนำเข้า ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 53 เป็นต้นมา แต่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นกิจากรประเภทใด ก็ยังร้องโอดครวญว่า ขาดแคลนแรงงาน เพราะในทางปฏิบัติแล้ว การจัดสรรโควตาระบบใหม่ข้างต้น ยังมีเงื่อนไขปลีกย่อยหลายหลายประการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น