ช่วงนี้มีขบวนการมิจฉาชีพใช้วิธีแจกแผ่นพับโดยอ้างว่า สามารถทำเรื่องให้ญาติพี่น้องของแรงงานต่างชาติมาทำงานที่ไต้หวันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปรากฎว่ามีแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานอินโดนีเซียตกเป็นเหยื่อสูญเงินกว่า 2 แสนเหรียญไปแล้วหลายราย ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกิจการแรงงานต่างชาติ จึงได้ทำหนังสือแจ้งคณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวัน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้แรงงานต่างชาติทราบโดยทั่วกัน
ในหนังสือเตือนของ CLA ยกตัวอย่างเหยื่อรายหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงงานอินโดนีเซียที่เดินทางมาทำงานที่ไต้หวันในตำแหน่งผู้อนุบาลในกรุงไทเป ตามปกติมักจะไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะใกล้บ้านนายจ้าง เมื่อเดือนธันวาคมปี 2553 ขณะที่ผู้อนุบาลอินโดนีเซียผู้นี้เดินพักผ่อนหย่อนใจอยูที่สวนสาธารณะตามเคย เห็นแผ่นโฆษณาใบหนึ่ง เขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย สาระสำคัญเขียนว่า สามารถช่วยเหลือให้ญาติ
พี่น้องของแรงงานต่างชาติ เดนทางมาทำงานที่ไต้หวันได้อย่างถูกกฎหมาย ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และจะมีการออกใบเสร็จรับเงินประทับตราอย่างถูกต้องทุกอย่าง และทิ้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อไว้ข้างท้าย ผู้อนุบาลอินโดนีเซียรายนี้เห็นว่า การทำงานในไต้หวันรายได้ดี นายจ้างไต้หวันมีความเป็นกันเอง ดูแลลูกจ้าง อย่างนายจ้างที่ตนทำงานอยู่ในทุกวันนี้ อยากให้ญาติพี่น้องของตนมาทำงานอย่างตนบ้าง จึงโทรศัพท์สอบถามฝ่ายตรงข้ามตามเบอร์โทรศัพท์ที่ระบุในใบปลิว ปรากฎว่ามีผู้หญิงชาวอินโดนีเซียรายหนึ่งอ้างว่าชื่อนีน่ามารับสาย พูดจาฉะฉานและรับประกันว่า สามารถทำเรื่องให้แรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาทำงานอย่างถูกกฎหมาย และด้วยค่าหัวคิวไม่แพง เพียงหัวละ 70,000 เหรียญไต้หวัน หากเทียบกับค่าหัวคิวตามปกติแล้วถูกว่าถึง 2 เท่าตัว ทั้งสองฝ่ายนัดเจอเพื่อเจรจารายละเอียดกันในสวนสาธารณะ โดยผู้นุบาลอินโดนีเซียรายนี้ หลังจากที่นัดคุยกันแล้ว หลงเชื่อคารมของหญิงที่ชื่อนีน่า เพราะไม่เพียงแต่จะแต่งตัวดูภูมิฐาน ยังพูดจาดีฟังน่าเชื่อถือ จึงได้นำข้อมูลของญาติพี่น้องของตน 4 คนที่อยากจะเดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน พร้อมกับเงินเดือนที่นายจ้างเพิ่งจะจ่ายให้ ยังไม่ทันจะนำไปฝากธนาคารจำนวน 17,000 เหรียญ มอบให้กับหญิงที่ชื่อนีน่า เพื่อเป็นค่ามัดจำ และหลังจากนั้น ก็ได้ถอนเงินฝากในธนาคาร รวมทั้งยืมจากนายจ้างและเพื่อนๆ ที่รู้จัก ทะยอยโอนให้นางนีน่าแล้วถึง 210,000 เหรียญ แต่หลังจากจ่ายเงินจนครบแล้ว ได้โทรศัพท์ไปสอบถามว่า ญาติจะเดินทางมาได้เมื่อไหร่ ปรากฎไม่สามารถติดต่อได้ โทรศัพท์ไม่มีใครรับสาย หรือไม่ก็ปิดเครื่อง เมื่อโทรศัพท์ติดต่อสอบถามญาติพี่น้องที่อินโดนีเซียทั้ง 4 ราย ก็ไม่มีใครได้รับการติดต่อให้ไปรายงานตัว หรือไปติดต่อเพื่อทำเรื่องไปทำงานที่ไต้หวันแต่อย่างใด แรงงานอินโดนีเซียรายนี้ จึงรู้ว่า ตนตกเป็นเหยื่อของนางนีน่า จนเงินที่อุตส่าห์เก็บเล็กผสมน้อย ไม่กินไม่ใช้มาเกือบ 2 ปี ถูกต้มตุ๋นจนหมดเกลี้ยงเสียแล้ว เจ็บใจเล่าเรื่องให้นายจ้างฟัง ทางนายจ้างจึงพาไปแจ้งความต่อตำรวจ
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตรวจสอบพบว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อในลักษณะเดียวกันนี้ ไม่ใช่มีเพียงรายเดียว ก่อนหน้านี้เคยมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความแล้วหลายราย โดยมากจะเป็นผู้อนุบาลอินโดนีเซีย ซึ่งหลงเชื่อคำโฆษณาในใบปลิว ตำรวจสันนิษฐานว่า ผู้ร้ายน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกัน ที่มีเป้าหมายต้มตุ๋นคนชาติเดียวกัน ขณะนี้ได้มีการตรวจอบอย่างเข้มงวด เพื่อตามล่าขบวนการต้มตุ๋นแก๊งนี้มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปแล้ว
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกิจการแรงงานต่างชาติ พร้อมด้วยคณะกรรมการการแรงงานเห็นสมควรจะประกาศให้แรงงานต่างชาติทราบโดยทั่วกัน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพอีกต่อไป โดยย้ำว่า วิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงตกเป็นผู้เสียหายจากขบวนการต้มตุ๋น ก็คืออย่าหลงเชื่อคารมบุคคลหรือสื่อโฆษณาที่มักจะใช้เทคนิค โดยอาศัยจุดอ่อนของมนุษย์ที่โดยมากชอบของฟรี หรือของราคาถูกมาหลอกล่อ ระวังโลถมากลาภหาย การเดินทางมาทำงานที่ไต้หวันจะต้องหาหรือติดต่อบริษัทจัดหางานที่ถูกกฎหมายเท่านั้น และหากมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าตนจะตกเป็นเหยื่อของแก๊งต้มตุ๋น ให้รีบโทรศัพท์แจ้งเบอร์ 165 ซึ่งเป็นสายด่วนต่อต้านการหลอกลวงต้มตุ๋น หรือแจ้งความที่เบอร์โทร 110 ได้ทันที
นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแรงงานอินโดนีเซีย สำหรับเพื่อนแรงงานไทยก็ต้องระมัดระวัง เพราะเคยโดนมาแล้วหลายรายเช่นกัน แต่ปัจจุบันแรงงานไทยจะต้องระวังให้มากที่สุดก็คือ มีล่ามบริษัทจัดหางานบางรายทำตัวเป็นสายให้กับบริษัทจัดหางานของไทย ยุแย่ให้คนงานไทยที่กำลังประสบปัญหาโรงงานไม่มีงานล่วงเวลา หรือโอทีทำ หรือที่ใกล้จะครบสัญญา ให้เดินทางกลับบ้าน แล้วกลับเข้ามาทำงานรอบใหม่กับบริษัทจัดหางานที่ล่ามรายนั้นแนะนำ ซึ่งโดยมากจะต้องเสียค่าหัวแพง และคนงานก็ยอมควัก เพราะเชื่อคารมล่ามว่า งานเบา เงินดี โอเพียบโดยแรงงานไทยหารู้ไม่ว่า เมื่อเรากลับเข้ามาใหม่ ล่ามที่ทำหน้าที่เป็นสายก็จะได้รับค่าแนะนำ หรือค่าคอมหัวละ 2-3 หมื่นเหรียญไต้หวัน และเมื่อมาแล้ว ก็ไม่ดีอย่างที่คุย เพราะเรื่องโอทีจะมากหรือน้อย ไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และที่สำคัญ เราต้องทำงานอย่างหนักกว่าจะได้ค่าโอทีมา ใช่ว่า จะได้มาฟรีๆ จึงไม่สมควรที่บริษัทจัดหางานหรือล่าม จะใช้ข้ออ้างว่ามีโอทีมาก แล้วมาเก็บค่าหัวคิวจากแรงงานในอัตราสูง สำนักงานแรงงานไทยกล่าวเตือนผ่านรายการมาว่า คนงานไทยที่จะเดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน รวมเบ็ดเสร็จไม่ควรเสียค่าหัวคิวเกิน 75,000 บาท บริษัทจัดหางานใดเก็บเกินกว่านี้ ขอให้อย่างเดินทาง เพราะโอกาสที่ท่านจะเดือดร้อนมีสูงมาก กรณีที่เดินทางเข้ามาแล้ว ขอให้ร้องเรียนได้ ไม่ว่าจะที่สายด่วนร้องทุกข์ 1955 หรือร้องเรียนต่อสำนักงานแรงงาน โดยเขียนเป็นจดหมายส่งแฟกซ์ตามร้านสะดวกซื้อไปที่ 02-27011433 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
แหล่งที่มา : Rti ในหนังสือเตือนของ CLA ยกตัวอย่างเหยื่อรายหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงงานอินโดนีเซียที่เดินทางมาทำงานที่ไต้หวันในตำแหน่งผู้อนุบาลในกรุงไทเป ตามปกติมักจะไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะใกล้บ้านนายจ้าง เมื่อเดือนธันวาคมปี 2553 ขณะที่ผู้อนุบาลอินโดนีเซียผู้นี้เดินพักผ่อนหย่อนใจอยูที่สวนสาธารณะตามเคย เห็นแผ่นโฆษณาใบหนึ่ง เขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย สาระสำคัญเขียนว่า สามารถช่วยเหลือให้ญาติ
พี่น้องของแรงงานต่างชาติ เดนทางมาทำงานที่ไต้หวันได้อย่างถูกกฎหมาย ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และจะมีการออกใบเสร็จรับเงินประทับตราอย่างถูกต้องทุกอย่าง และทิ้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อไว้ข้างท้าย ผู้อนุบาลอินโดนีเซียรายนี้เห็นว่า การทำงานในไต้หวันรายได้ดี นายจ้างไต้หวันมีความเป็นกันเอง ดูแลลูกจ้าง อย่างนายจ้างที่ตนทำงานอยู่ในทุกวันนี้ อยากให้ญาติพี่น้องของตนมาทำงานอย่างตนบ้าง จึงโทรศัพท์สอบถามฝ่ายตรงข้ามตามเบอร์โทรศัพท์ที่ระบุในใบปลิว ปรากฎว่ามีผู้หญิงชาวอินโดนีเซียรายหนึ่งอ้างว่าชื่อนีน่ามารับสาย พูดจาฉะฉานและรับประกันว่า สามารถทำเรื่องให้แรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาทำงานอย่างถูกกฎหมาย และด้วยค่าหัวคิวไม่แพง เพียงหัวละ 70,000 เหรียญไต้หวัน หากเทียบกับค่าหัวคิวตามปกติแล้วถูกว่าถึง 2 เท่าตัว ทั้งสองฝ่ายนัดเจอเพื่อเจรจารายละเอียดกันในสวนสาธารณะ โดยผู้นุบาลอินโดนีเซียรายนี้ หลังจากที่นัดคุยกันแล้ว หลงเชื่อคารมของหญิงที่ชื่อนีน่า เพราะไม่เพียงแต่จะแต่งตัวดูภูมิฐาน ยังพูดจาดีฟังน่าเชื่อถือ จึงได้นำข้อมูลของญาติพี่น้องของตน 4 คนที่อยากจะเดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน พร้อมกับเงินเดือนที่นายจ้างเพิ่งจะจ่ายให้ ยังไม่ทันจะนำไปฝากธนาคารจำนวน 17,000 เหรียญ มอบให้กับหญิงที่ชื่อนีน่า เพื่อเป็นค่ามัดจำ และหลังจากนั้น ก็ได้ถอนเงินฝากในธนาคาร รวมทั้งยืมจากนายจ้างและเพื่อนๆ ที่รู้จัก ทะยอยโอนให้นางนีน่าแล้วถึง 210,000 เหรียญ แต่หลังจากจ่ายเงินจนครบแล้ว ได้โทรศัพท์ไปสอบถามว่า ญาติจะเดินทางมาได้เมื่อไหร่ ปรากฎไม่สามารถติดต่อได้ โทรศัพท์ไม่มีใครรับสาย หรือไม่ก็ปิดเครื่อง เมื่อโทรศัพท์ติดต่อสอบถามญาติพี่น้องที่อินโดนีเซียทั้ง 4 ราย ก็ไม่มีใครได้รับการติดต่อให้ไปรายงานตัว หรือไปติดต่อเพื่อทำเรื่องไปทำงานที่ไต้หวันแต่อย่างใด แรงงานอินโดนีเซียรายนี้ จึงรู้ว่า ตนตกเป็นเหยื่อของนางนีน่า จนเงินที่อุตส่าห์เก็บเล็กผสมน้อย ไม่กินไม่ใช้มาเกือบ 2 ปี ถูกต้มตุ๋นจนหมดเกลี้ยงเสียแล้ว เจ็บใจเล่าเรื่องให้นายจ้างฟัง ทางนายจ้างจึงพาไปแจ้งความต่อตำรวจ
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตรวจสอบพบว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อในลักษณะเดียวกันนี้ ไม่ใช่มีเพียงรายเดียว ก่อนหน้านี้เคยมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความแล้วหลายราย โดยมากจะเป็นผู้อนุบาลอินโดนีเซีย ซึ่งหลงเชื่อคำโฆษณาในใบปลิว ตำรวจสันนิษฐานว่า ผู้ร้ายน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกัน ที่มีเป้าหมายต้มตุ๋นคนชาติเดียวกัน ขณะนี้ได้มีการตรวจอบอย่างเข้มงวด เพื่อตามล่าขบวนการต้มตุ๋นแก๊งนี้มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปแล้ว
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกิจการแรงงานต่างชาติ พร้อมด้วยคณะกรรมการการแรงงานเห็นสมควรจะประกาศให้แรงงานต่างชาติทราบโดยทั่วกัน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพอีกต่อไป โดยย้ำว่า วิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงตกเป็นผู้เสียหายจากขบวนการต้มตุ๋น ก็คืออย่าหลงเชื่อคารมบุคคลหรือสื่อโฆษณาที่มักจะใช้เทคนิค โดยอาศัยจุดอ่อนของมนุษย์ที่โดยมากชอบของฟรี หรือของราคาถูกมาหลอกล่อ ระวังโลถมากลาภหาย การเดินทางมาทำงานที่ไต้หวันจะต้องหาหรือติดต่อบริษัทจัดหางานที่ถูกกฎหมายเท่านั้น และหากมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าตนจะตกเป็นเหยื่อของแก๊งต้มตุ๋น ให้รีบโทรศัพท์แจ้งเบอร์ 165 ซึ่งเป็นสายด่วนต่อต้านการหลอกลวงต้มตุ๋น หรือแจ้งความที่เบอร์โทร 110 ได้ทันที
นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแรงงานอินโดนีเซีย สำหรับเพื่อนแรงงานไทยก็ต้องระมัดระวัง เพราะเคยโดนมาแล้วหลายรายเช่นกัน แต่ปัจจุบันแรงงานไทยจะต้องระวังให้มากที่สุดก็คือ มีล่ามบริษัทจัดหางานบางรายทำตัวเป็นสายให้กับบริษัทจัดหางานของไทย ยุแย่ให้คนงานไทยที่กำลังประสบปัญหาโรงงานไม่มีงานล่วงเวลา หรือโอทีทำ หรือที่ใกล้จะครบสัญญา ให้เดินทางกลับบ้าน แล้วกลับเข้ามาทำงานรอบใหม่กับบริษัทจัดหางานที่ล่ามรายนั้นแนะนำ ซึ่งโดยมากจะต้องเสียค่าหัวแพง และคนงานก็ยอมควัก เพราะเชื่อคารมล่ามว่า งานเบา เงินดี โอเพียบโดยแรงงานไทยหารู้ไม่ว่า เมื่อเรากลับเข้ามาใหม่ ล่ามที่ทำหน้าที่เป็นสายก็จะได้รับค่าแนะนำ หรือค่าคอมหัวละ 2-3 หมื่นเหรียญไต้หวัน และเมื่อมาแล้ว ก็ไม่ดีอย่างที่คุย เพราะเรื่องโอทีจะมากหรือน้อย ไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และที่สำคัญ เราต้องทำงานอย่างหนักกว่าจะได้ค่าโอทีมา ใช่ว่า จะได้มาฟรีๆ จึงไม่สมควรที่บริษัทจัดหางานหรือล่าม จะใช้ข้ออ้างว่ามีโอทีมาก แล้วมาเก็บค่าหัวคิวจากแรงงานในอัตราสูง สำนักงานแรงงานไทยกล่าวเตือนผ่านรายการมาว่า คนงานไทยที่จะเดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน รวมเบ็ดเสร็จไม่ควรเสียค่าหัวคิวเกิน 75,000 บาท บริษัทจัดหางานใดเก็บเกินกว่านี้ ขอให้อย่างเดินทาง เพราะโอกาสที่ท่านจะเดือดร้อนมีสูงมาก กรณีที่เดินทางเข้ามาแล้ว ขอให้ร้องเรียนได้ ไม่ว่าจะที่สายด่วนร้องทุกข์ 1955 หรือร้องเรียนต่อสำนักงานแรงงาน โดยเขียนเป็นจดหมายส่งแฟกซ์ตามร้านสะดวกซื้อไปที่ 02-27011433 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
วันที่ : 15 พ.ค. 2554
คนงานไทยต้องระวังนะค่ะ!!!
ตอบลบ