คณะกรรมการการแรงงาน หรือ CLAของไต้หวันเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จำนวนแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวัน พุ่งสูงถึง 420,931 คนแล้ว จัดเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในจำนวนนี้ คนงานอินโดนีเซียมีจำนวนมากที่สุด 172,068 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด รองลงมาคือเวียตนาม มีจำนวน 93,870 คน คิดเป็นร้อยละ 22อันดับ 3 ได้แก่แรงงานฟิลิปปินส์ มีจำนวน 82,850 คน ครองสัดส่วนร้อยละ 19.7 และอันดับสุดท้ายได้แก่คนงานไทย มีจำนวน 72,138 คน ครองสัดส่วนร้อยละ 17.13
CLA ระบุว่า แรงงานต่างชาติในไต้หวันแบ่งเป็นแรงงานในภาคการผลิตและแรงงานภาคสวัสดิการสังคม โดยแรงงานภาคการผลิต ได้แก่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ตามโรงงานและไซต์งานก่อสร้าง มีจำนวน 224,176 คน แม้ว่าแรงานไทยจะมีจำนวนน้อยที่สุดอยู่ในอันดับสุดท้ายของตาราง แต่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในในภาคการผลิต กลับเป็นแรงงานไทยมาเป็นอันดับ 1 โดยมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในภาคการผลิตถึง 71020 คน รองลงมาได้แก่แรงงานฟิลิปินส์ 59,492 คน ส่วนแรงงานในภาคสวัสดิการสังคม เช่นผู้อนุบาล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วปีละกว่า 10,000 คน ส่งผลให้มีจำนวน 196,755 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานอินโดนีเซียถึง 145,981 ครองสัดส่วนเกือบ
ร้อยละ 75 ตามมาด้วยแรงงานเวียตนาม 26,297 คน ฟิลิปปินส์ 23,358 คน ส่วนแรงงานไทยที่ทำงานเป็นผู้อนุบาลมีเพียง 1,118 คน
ร้อยละ 75 ตามมาด้วยแรงงานเวียตนาม 26,297 คน ฟิลิปปินส์ 23,358 คน ส่วนแรงงานไทยที่ทำงานเป็นผู้อนุบาลมีเพียง 1,118 คน
สำหรับพื้นที่ที่มีแรงงานต่างชาติทำงานอยู่มากที่สุดได้แก่ เมืองเถาหยวน เนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งเรียงรายหลายสิบแห่ง ส่งผลให้มีแรงงานต่างชาติทำงานอยู่เมืองนี้มากถึง 73,520 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.5 ตามด้วยนครนิวไทเปมีจำนวน 59,588 คน อันดับ 3 ได้แก่นครไทจง มีจำนวน 57,061 คน และคนงานไทยทำงานอยู่ในเมืองเถาหยวนมากที่สุดถึง 21,209 คน ในจำนวนนี้เป็นคนงานในโรงงาน และไซต์งานก่อสร้าง 21,045 คน ผู้อนุบาล 164 คน รองลงมาเป็นนครไทจง มีแรงงานไทยทำงานอยู่ 11,658 คน และอันดับ 3 ไก้แก่นครนิวไทเป มีแรงงานไทยทำงานอยู่ 9,018 คน
แต่หากจำแนกเฉพาะงานในภาคสวัสดิการสังคมแล้ว เขตพื้นที่ที่มีผู้อนุบาลมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่กรุงไทเป นครนิวไทเปและนครไทจง ตามลำดับ
สำหรับปัญหาการหลบหนีนายจ้างของแรงงานต่างชาตินั้น ยังมีแนวโน้มรุนแรงต่อไป โดยคนงานเวียตนามยังคงครองแชมป์หลบหนีมากที่สุด กล่าวได้ว่า คนงานต่างชาติหลบหนี ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนงานเวียดนาม และเป็นเหตุให้ CLA สั่งระงับการนำเข้าแรงงานเวียตนามในตำแหน่งลูกเรือประมงและผู้อนุบาลจนถึงปัจจุบัน ทางรัฐบาลเวียดนามได้เรียกร้องให้ฝ่ายไต้หวันยกเลิกคำสั่งระงับดังกล่าวเสีย ทาง CLA ตอบตกลง แต่มีเงื่อนไขว่า หากสำนักงานแรงงานเวียตนามให้ความร่วมมือ ตรวจพบและส่งกลับแรงงานเวียดนามผิดกฎหมายเดือนละ 1,500 คนขึ้นไปต่อเนื่องกัน 3 เดือน ไต้หวันก็จะพิจารณายกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าแรงงานเวียตนามในตำแหน่งผู้อนุบาล โดยจะเปิดให้นำเข้าแรงงานเวียดนามในตำแหน่งลูกเรือประมงและผู้อนุบาลผ่านระบบจ้างตรงออนไลน์ ที CLA กำลังจะเปิดใช้ในวันที่ 31 ธ.ค. ศกนี้
สถิติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2554 มีแรงงานต่างชาติหลบหนีนายจ้างและยังไม่ถูกตรวจพบจำนวน 31,912 คน ในจำนวนนี้ คนงานต่างชาติเพศหญิงหลบหนีมากที่สุด 22,233 คน ส่วนผู้ชายหลบหนี 9,679 คนหากจำแนกตามสัญชาติพบว่า คนงานเวียดนามหลบหนีมากที่สุด จำนวน 15,308 คน รองลงมาเป็นแรงงานอินโดนีเซีย หลบหนีและยังไม่ถูกตรวจพบจำนวน 13,387 คน อันดับ 3 ได้แก่ฟิลิปปินส์มีจำนวน 2030 คน ส่วนแรงงานไทยที่หลบหนีและยังไม่ถูกจับกุม 1,187 คน แบ่งเป็นคนงานไทยเพศชาย 976 คน หญิง 20 คน
ถ้าในกรณีที่แรงงานมีปัญหา เรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาล คนงานจะสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมกับใครได้
ตอบลบ