ไม่ว่าจะแรงงานท้องถิ่นหรือต่างชาติ หากเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยแรงงานรวมทั้งหมด 45 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน แต่ที่ผ่านมา แรงงานที่ทำงานหนัก มีเวลาพักผ่อนน้อย จู่ๆ ก็มาเสียชีวิต โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ อาจเสียชีวิตขณะนอนหลับ หรือเสียชีวิตขณะทำงาน โดยมากจะถูกตีความไปว่า เสียชีวิตจากโรคทั่วไป จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยตามอายุการเข้ากองทุน กล่าวคือไม่ถึง 1 ปี จะได้รับ 15 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน เกิน 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี จะได้รับ 25 เท่าของค่าจ้าง อายุการเข้ากองทุนเกิน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนเท่ากับ 35 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน ทั้งที่การเสียชีวิตอาจสืบเนื่องจากการทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 2554 ที่ผ่านมา CLA ได้ผ่อนปรนคุณสมบัติแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก โดยไม่ต้องเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่นจะจะมีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักจำนวนมาก จนมีคำใช้เรียกโดยเฉพาะว่า Karochi ถ้าเป็นไทยก็ตรงตัวว่า เสียชีวิตจากการทำงานหนัก หรือที่เรียกว่า "ไหลตาย"นั่นเอง โดย CLA จะมีการตรวจสอบหาสาเหตุของการเสียชีวิต หากยืนยัน
ได้ว่า เกิดจากการทำงานหนัก ทายาทคนงานจะได้รับเงินทดแทนกองทุนประกันภัย เท่ากับ 45 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน
ได้ว่า เกิดจากการทำงานหนัก ทายาทคนงานจะได้รับเงินทดแทนกองทุนประกันภัย เท่ากับ 45 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน
ทั้งนี้ คนงานต่างชาติรายแรกที่ได้รับการยืนยันว่า เสียชีวิตจากการทำงานหนักและทายาทได้รับเงินทดแทน 45 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกันแล้ว เป็นคนงานอินโดนีเซีย ซึ่งทำงานอยู่ที่โรงงานทอผ้าที่เมืองเถาหยวน เสียชีวิตขณะนอนหลับ คล้ายกับโรคไหลตายอย่างที่คนงานไทยมักจะเป็นกัน โดยก่อนหน้านี้ทายาทได้รับเงินทดแทนไปแล้ว 35 เท่าของค่าจ้าง แต่ต่อมา CLA มีการตรวจสอบพบสาเหตุการตายสืบเนื่องจากทำงานหนัก จึงได้อนุมัติเงินทดแทนเพิ่มอีก 10 เท่าของค่าจ้าง รวมทั้งหมดเป็น 45 เท่าของค่าจ้าง เท่ากับคนงานที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยทาง CLA ได้แจ้งให้ทายาทส่งเอกสารยื่นขอภายในเวลา 2 ปี นับจากวันที่เสียชีวิต เพื่อจะได้อนุมัติเงินทดแทนเพิ่มอีก 10 เท่าของค่าจ้าง
คนงานไทยในไต้หวันที่เสียชีวิตด้วยโรคไหลตาย มีจำนวนไม่ต่ำกว่าปีละ 20 ราย ที่ผ่านมา ไม่ถือว่าตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ จึงได้รับเงินทดแทนตามอายุการเข้ากองทุนประกันภัย ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำงานหนัก แต่ต่อนี้ไป มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามอัตราสูงสุดคือ 45 เท่าของค่าจ้าง หากตรวจสอบแล้วพบว่า มีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก ทำให้ทายาทจะได้รับเงินทดแทนเพิ่มขึ้น 10-30 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน