วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แรงงานต่างชาติจะได้เพิ่มค่าจ้างอีกเดือนละ900 เหรียญ เป็น 18,780 เหรียญ มีผลปีใหม่นี้เป็นต้นไป

ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ปีใหม่นี้เป็นต้นไป อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในไต้หวันจะได้รับการปรับขึ้นร้อยละ 5.03 หรือปรับขึ้น 900 เหรียญ จาก 17,880 เหรียญในปัจจุบัน เป็น 18,780 เหรียญไต้หวันต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็นคนงานท้องถิ่นหรือคนงานต่างชาติ หากทำงานในกิจการที่อยู่ในขอบข่ายการคุ้มครองของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน และมีค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะได้รับการปรับขึ้นเท่ากับอัตราค่าจ้างใหม่นี้ถ้วนหน้า ยกเว้นผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่ไม่อยู่ในขอบข่ายการคุ้มครองของกฎหมายมาตรฐานแรงงาน ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างจะปรับขึ้นค่าจ้างตามค่าจ้างขั้นต่ำใหม่หรือไม่ กฎหมายไม่ได้บังคับ

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่จะมีผลใช้ตั้งแต่ปีใหม่นี้นั้น เป็นผลจากมติในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ปีนี้ หลังผ่านการอนุมัติจากสภาบริหารแล้ว คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันประกาศเมื่อวันที่ 6

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จ้างตรงออนไลน์เริ่มเปิดบริการ 1 ม.ค. 55 คาดนายจ้างและแรงงานต่างชาติประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 63,000 เหรียญ

คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันประกาศว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป จะเปิดให้บริการนายจ้างจ้างตรงแรงงานต่างชาติทั้งคนเก่าและใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ หรือผ่านการคัดเลือกคนงานทางอินเตอร์เนท โดยไมผ่านการจัดส่งของบริษัทจัดหางาน ส่งผลให้นายจ้างและแรงงานต่างชาติประหยัดค่าบริการจัดหางานได้ไม่ต่ำกว่าคนละ 63,000 ไต้หวันขึ้นไป อีกทั้งประหยัดเวลาในการนำเข้าแรงงานต่างชาติ จาก 3 เดือนเหลือ 30 วัน


เว็บไซด์ของศูนย์บริการจ้างตรง
CLA กล่าวว่า จากราคาตลาดในปัจจุบัน การนำเข้าแรงงานต่างชาติตำแหน่งผู้อนุบาล นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบริการให้บริษัทจัดหางานที่ได้รับมอบหมายคนละประมาณ 20,000 เหรียญไต้หวัน แรงงานต่างชาติเองก็ต้องเสียให้ค่าหัวคิวให้แก่บริษัทจัดหางานคนละตั้งแต่ 40,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป อีกทั้งต้อง

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

CLA จะหารือการจำกัดเศรษฐีจ้างผู้อนุบาลต่างชาติในปลายเดือนธันวาคมนี้

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา ภริยาของนายกัว ไถหมิง อัครมหาเศรษฐีของไต้หวัน เจ้าของโรงงานฟอกซ์คอน ซึ่งเป็นโรงงานรับจ้างผลิตคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเลคทรอนิคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกประชาชนพบว่าใช้ผู้อนุบาลต่างชาติเดินตามช่วยถือข้าวของ ขณะช็อบปิ้งตามห้างสรรพสินค้าในกรุงไทเป เข้าข่ายใช้คนงานต่างชาติผิดตำแหน่งงาน ถือว่าผิดกฎหมาย จึงมีการร้องเรียน กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากวิจารณ์อย่างมาก นอกจากนี้ มักจะมีบรรดาไฮโซและดาราชื่อดัง ถูกร้องเรียนว่าใช้งานผู้อนุบาลอย่างผิดกฎหมาย และ CLA ก็ถูกล่าวหาว่า อนุมัติมั่วและปล่อยปละละเลยต่อการใช้งานแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะผู้อนุบาล ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ แต่กลับถูกเรียกให้ไปทำงานบ้าน ขายของ เลี้ยงลูก พาสุนัขไปเดินเล่น หรือให้เดินตามเป็นคนใช้ขณะคุณนายไปช็อบปิ้ง โดยกรณีของภริยานายกัว หลังตกเป็นข่าว ถูกกองแรงงาน เทศบาลกรุงไทเปลงโทษปรับ 30,000 เหรียญไต้หวัน หากทำผิดซ้ำสอง จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติ

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ระดับ ผอ. กองแรงงาน จาก 5 นครใหญ่ ได้แก่ กรุงไทเป นครนิวไทเป นครไทจง นครไถหนานและนครเกาสง ต่างเสนอต่อ CLA ว่า ควรจะจำกัดสิทธิในการยื่นขอว่าจ้างผู้อนุบาลต่างชาติสำหรับผู้มีฐานะมั่งคั่ง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ผู้มีสิทธิยื่นขอนำเข้าผู้อนุบาล

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จำนวนแรงงานต่างชาติในไต้หวันทะลุด่าน 420,000 คน ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คนงานอินโดครองสัดส่วน 40%

คณะกรรมการการแรงงาน หรือ CLAของไต้หวันเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จำนวนแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวัน พุ่งสูงถึง 420,931 คนแล้ว จัดเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในจำนวนนี้ คนงานอินโดนีเซียมีจำนวนมากที่สุด 172,068 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด รองลงมาคือเวียตนาม มีจำนวน 93,870 คน คิดเป็นร้อยละ 22อันดับ 3 ได้แก่แรงงานฟิลิปปินส์ มีจำนวน 82,850 คน ครองสัดส่วนร้อยละ 19.7 และอันดับสุดท้ายได้แก่คนงานไทย มีจำนวน 72,138 คน ครองสัดส่วนร้อยละ 17.13

CLA ระบุว่า แรงงานต่างชาติในไต้หวันแบ่งเป็นแรงงานในภาคการผลิตและแรงงานภาคสวัสดิการสังคม โดยแรงงานภาคการผลิต ได้แก่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ตามโรงงานและไซต์งานก่อสร้าง มีจำนวน 224,176 คน แม้ว่าแรงานไทยจะมีจำนวนน้อยที่สุดอยู่ในอันดับสุดท้ายของตาราง แต่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในในภาคการผลิต กลับเป็นแรงงานไทยมาเป็นอันดับ 1 โดยมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในภาคการผลิตถึง 71020 คน รองลงมาได้แก่แรงงานฟิลิปินส์ 59,492 คน ส่วนแรงงานในภาคสวัสดิการสังคม เช่นผู้อนุบาล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วปีละกว่า 10,000 คน ส่งผลให้มีจำนวน 196,755 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานอินโดนีเซียถึง 145,981 ครองสัดส่วนเกือบ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

CLA ผ่อนปรนคุณสมบัติแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก คนงานไทยที่ตายด้วยโรคไหลตาย มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนเท่ากับผู้ที่ตายในหน้าที่

ไม่ว่าจะแรงงานท้องถิ่นหรือต่างชาติ หากเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยแรงงานรวมทั้งหมด 45 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน แต่ที่ผ่านมา แรงงานที่ทำงานหนัก มีเวลาพักผ่อนน้อย จู่ๆ ก็มาเสียชีวิต โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ อาจเสียชีวิตขณะนอนหลับ หรือเสียชีวิตขณะทำงาน โดยมากจะถูกตีความไปว่า เสียชีวิตจากโรคทั่วไป จะได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยตามอายุการเข้ากองทุน กล่าวคือไม่ถึง 1 ปี จะได้รับ 15 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน เกิน 1 ปี แต่ไม่ครบ 2 ปี จะได้รับ 25 เท่าของค่าจ้าง อายุการเข้ากองทุนเกิน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนเท่ากับ 35 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน ทั้งที่การเสียชีวิตอาจสืบเนื่องจากการทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 2554 ที่ผ่านมา CLA ได้ผ่อนปรนคุณสมบัติแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก โดยไม่ต้องเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่นจะจะมีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักจำนวนมาก จนมีคำใช้เรียกโดยเฉพาะว่า Karochi ถ้าเป็นไทยก็ตรงตัวว่า เสียชีวิตจากการทำงานหนัก หรือที่เรียกว่า "ไหลตาย"นั่นเอง โดย CLA จะมีการตรวจสอบหาสาเหตุของการเสียชีวิต หากยืนยัน