วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เตือนแรงงานไทยเปลี่ยนชื่อหวังทำงานเกิน 9 ปี อาจถูกดำเนินคดีข้อหาแปลอมแปลงเอกสารและแจ้งข้อมูลเท็จ

ปัจจุบันกฎหมายการจ้างงานไต้หวันอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานได้ไม่เกิน 9 ปี แต่มีคนงานไทยที่ทำงานใกล้จะครบหรือครบ 9 ปีแล้ว และประสงค์จะกลับมาทำงานในไต้หวันอีก หากใช้วิธีเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล หรือกระทั่งสวมบัตรประชาชนคนอื่นกลับเข้ามา ระวังจะถูกดำเนินคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารและแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน โดยช่วงไม่กี่เดือนมานี้ พบว่ามีแรงงานไทยถูกส่งกลับหรือกระทั่งถูกดำเนินคดีแล้วหลายราย

ล่าสุดเกิดขึ้นที่เมืองไทจุง นายอมฤต สุรภีร์ อายุ 33 ปี ภูมิลำเนาจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเคยเดินทางมาทำงานที่ไต้หวันแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลาทำงาน 8 ปี 9 เดือนเศษ ได้เปลี่ยนชื่อทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ แล้วเดินเรื่องกลับมาทำงานกับนายจ้างรายเดิมเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา วันรุ่งขึ้นบริษัทจัดหางานพาไปพิมพ์ลายนิ้วมือ และยื่นขอใบถิ่นที่อยู่ที่สำนัก

ศาลสูงไต้หวันตัดสินจำคุกตลอดชีวิตคนงานเวียดนาม มือวางเพลิงเผาแรงงานไทย 6 ศพ

เหตุการณ์ที่คนงานเวียดนามไม่พอใจแพ้การพนัน ซื้อน้ำมันเบนซินราดแล้วจุดไฟเผาร้านคาราโอเกะย่างสดคนงานไทยไปถึง 6 ศพ ยาดเจ็บสาหัสอีก 4 คน ซึ่งเป็นคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญทั่วไต้หวันเมื่อปลายปี 2552 เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมานี้ ศาลสูงไต้หวันได้พิพากษาแล้ว โดยยังคงยืนตามคำพิพากษาเดิมของศาลท้องถิ่น ตัดสินจำคุกนาย Tran Quang Cuong แรงงานผิดกฎหมายชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ต้องหาวางเพลิงตลอดชีวิต ข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา นาย Hoang Duy Chung ถูกตัดสินจำคุกจาก 10 ปี ลดลงเป็น 7 ปี 6 เดือน ข้อหาช่วยเหลือนาย TRAN ฆ่าคนตาย ส่วนนาง Nguyen ThiNhi แฟนสาวชาติเดียวกันของนาย Tran ถูกตัดสินจำคุก 8 เดือน ข้อหาให้การเท็จ แต่ทั้งสามยังมีโอกาสอุทธรณ์ได้อีก คำพิพากษาของศาลสูงไต้หวันระบุว่า

ผู้ต้องหาชาวเวียดนามเนื่องจากไม่พอใจที่เสียพนันให้คนงานไทยเป็นเงิน 10,000 เหรียญเศษ ขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ออกไปซื้อน้ำมันเบนซินที่ปั้มใกล้เคียงในปริมาณ 15 ลิตร จากนั้นกลับมาที่ร้าน จัดการราดน้ำมันทั่วแล้วจุดไฟเผา ทำให้คนงานไทยถูกย่างสดในที่เกิดเหตุ 3 ศพ และไปเสียชีวิต

จับพ่อค้าใจดำ ปลอมเครื่องสำอางขายแรงงานต่างชาติ จนเสียโฉมไปแล้วหลายคน ตำรวจบุกทะลายจับกุมตัวหัวโจกได้แล้ว

แรงงานต่างชาติโดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามระวังใบหน้าจะเสียโฉม หากซื้อครีมทาหน้าที่วางขายตามร้านอาหาร หรือร้านจำหน่ายสินค้าสำหรับแรงงานต่างชาติ เพราะเป็นของปลอมกันเยอะ โดยก่อนหน้านี้ เคยมีแรงงานหญิงอินโดนีเซีย 3 รายทะยอยเข้าร้องเรียนต่อกองสาธารณสุขเถาหยวนว่า ซื้อครีมทาหน้ายี่ห้อ Macalana จากร้านขายของสำหรับแรงงานต่างชาติ แต่หลังจากทาแล้วไม่กี่วัน ใบหน้าก็บวมเป่ง มีอาการคัน ต่อมาเริ่มเน่า จนต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล หลังจากกองสาธารณสุขนำครีมทาหน้ายี่ห้อดังกล่าวไปตรวจสอบส่วนผสม พบปรอทและสารไฮโดรควิโนน ซึ่งเป็นสารมีพิษและอันตรายต่อสุขภาพร่างกายคนปนเปื้อนในปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 460 เท่า จึงแจ้งอัยการทราบ หลังดำเนินการตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา อัยการจากสำนักอัยการศาลท้องถิ่นเมืองเถาหยวนนำกำลังตำรวจหลายสิบนาย แบ่งออกเป็นหลายจุด ตรวจค้นร้านอาหารและร้านซูปเปอร์ที่จำหน่ายสินค้าให้แรงงานต่างชาติ แถวๆ ไทเปและเถาหยวน ตรวจพบเครื่องสำอางมีปัญหากว่า 12,000กระปุก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสำอางยี่ห้อ Macalana ซึ่งโด่งดังมากในหมู่แรงงานต่าง

CLA ผลักดันโครงการส่งเสริมการจ้างงานท้องถิ่นและต่างชาติพร้อมกัน ด้วยการให้เงินอุดหนุนคนงานท้องถิ่นเดือนละ 3-5,000 เหรียญไต้หวัน

คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันเตรียมร่างแผนการทำงานประจำปี โดยในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายแรงงานต่างชาติ จะผลักดันให้มีการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นและต่างชาติพร้อมๆ กัน เช่น จะส่งเสริมให้ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ จ้างผู้อนุบาลท้องถิ่นให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันศูนย์ดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะพึ่งพาแต่แรงงานต่างชาติเท่านั้น แม้กระทรวงมหาดไทยจะผลักดันระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาวตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว แต่ประสบปัญหาขาดแคลนผู้อนุบาล เนื่องจากชาวไต้หวันไม่นิยมทำงานประเภทนี้ ทำให้ระบบดังกล่าว ไม่มีผลคืบหน้าเท่าที่ควร จำนวนผู้อนุบาลที่ผ่านการฝึกอบรมทั้งที่ทำงานเต็มเวลาและอาสาสมัครที่ทำงานระยะสั้นมีเพียง 4,000 คนเศษ ไม่สามารถรองรับงานดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนสูงถึง 150,000 คนได้ ทำให้ต้องนำเข้าผู้อนุบาลต่างชาติ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนสูงกว่า 180,000 คนแล้ว ขณะที่คนว่างงานในไต้หวันยังมีจำนวนสูงกว่า 500,000 คน ประกอบกับโครงสร้างประชากรในไต้หวัน นับวันจะมีผู้สูงอายุและผู้