เพื่อให้แรงงานต่างชาติมีโอกาสระบายความรู้สึกและสะท้อนความในใจระหว่างทำงานอยู่ในไต้หวัน เริ่มตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา กองแรงงานเทศบาลกรุงไทเปได้จัดงานประกวดโคลงกลอนสำหรับแรงงานต่างชาติปีละ 1 ครั้ง ซึ่งได้รับความสนใจจากแรงงานต่างชาติเป็นจำนวนมาก มีการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่สำหรับแรงงานไทยเพิ่งจะส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเมื่อปี 2552 นี้เอง สาเหตุเพราะการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง หลังจากกองแรงงานเทศบาลกรุงไทเปได้ร้องขอให้สำนักงานแรงงาน ไทเปและสถานีวิทยุ RTI ช่วยประชาสัมพันธ์และเชิญชวนคนงานไทยเข้าร่วมการประกวด จึงมีคน
งานไทยส่งผลงานเข้าร่วมปีละประมาณ 40 ชิ้น สำหรับปี 2553 เปิดให้แรงงานต่างชาติส่งผลงานประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองเข้าร่วมการประกวดตั้งแต่เดือนมีนาคม หมดเขต 30 มิ.ย. 2553 มีผลงานส่งเข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้น 2,502 ชิ้น หลังผ่านกระบวนการคัดเลือก 3 ขั้นตอนแล้ว คณะกรรมการตัดสินได้คัดเลือกผลงานยอดเยี่ยมออกมา 18 ชิ้น ได้แก่ รางวัลผลงานประเภทร้อยกรองอันดับ 1-3 ผลงานยอดเยี่ยมประเภทร้อยกรอง 3 รางวัล ผลงานดีเด่นประเภทร้อยกรอง 6 รางวัล และรางวัลประเภทร้อยแก้วอันดับ 1- 3 ผลงานยอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้ว 3 รางวัล นอกจากเงินรางวัลและโล่เกียรติคุณแล้ว ผลงานที่ได้รับรางวัลยังจะถูกนำไปแปลเป็นภาษาจีน ควบคู่กับต้นฉบับตีพิมพ์เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มสวยหรูจำนวน 5,000 เล่ม แจกจ่ายให้กับแรงงานต่างชาติเจ้าของผลงาน ผู้เข้าร่วมการประกวดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหอสมุดต่างๆ ทุกแห่ง เพื่อให้ชาวไต้หวันได้ชื่นชมผลงานของแรงงานต่างชาติที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาขายแรงงานถึงที่ไต้หวันด้วย
งานไทยส่งผลงานเข้าร่วมปีละประมาณ 40 ชิ้น สำหรับปี 2553 เปิดให้แรงงานต่างชาติส่งผลงานประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองเข้าร่วมการประกวดตั้งแต่เดือนมีนาคม หมดเขต 30 มิ.ย. 2553 มีผลงานส่งเข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้น 2,502 ชิ้น หลังผ่านกระบวนการคัดเลือก 3 ขั้นตอนแล้ว คณะกรรมการตัดสินได้คัดเลือกผลงานยอดเยี่ยมออกมา 18 ชิ้น ได้แก่ รางวัลผลงานประเภทร้อยกรองอันดับ 1-3 ผลงานยอดเยี่ยมประเภทร้อยกรอง 3 รางวัล ผลงานดีเด่นประเภทร้อยกรอง 6 รางวัล และรางวัลประเภทร้อยแก้วอันดับ 1- 3 ผลงานยอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้ว 3 รางวัล นอกจากเงินรางวัลและโล่เกียรติคุณแล้ว ผลงานที่ได้รับรางวัลยังจะถูกนำไปแปลเป็นภาษาจีน ควบคู่กับต้นฉบับตีพิมพ์เป็นหนังสือที่มีรูปเล่มสวยหรูจำนวน 5,000 เล่ม แจกจ่ายให้กับแรงงานต่างชาติเจ้าของผลงาน ผู้เข้าร่วมการประกวดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหอสมุดต่างๆ ทุกแห่ง เพื่อให้ชาวไต้หวันได้ชื่นชมผลงานของแรงงานต่างชาติที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาขายแรงงานถึงที่ไต้หวันด้วย
ผลการตัดสินปรากฏว่า ผลงานประเภทร้อยกรองนั้น คนงานไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล ได้แก่บทกลอนที่ให้ชื่อว่า แรงใจ จากคุณรุ่งนภา ศรีนทีทันดร รางวัลดีเด่น 1 รางวัล ชื่อบทกลอน พึ่งบุญบารมี จากนายอำพร นาวา และรางวัลผลงานยอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้ว ชื่อเรื่องเงาสะท้อนอีกด้านของแรงงานต่างชาติ จากนายอรัญ โมดี ในจำนวนนี้ ผลงานของนายอรัญได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนในไต้หวันมากที่สุด เนื่องจากเจ้าของผลงานเป็นผู้ต้องขังจากเรือนจำกลางไทเป ซึ่งหลงมัวเมากับอบายมุก ลืมเป้าหมายในการเดินทางมาทำงานในต่างแดน ในที่สุดกลายเป็นผู้ต้องขังคดีฆ่าคน ถูกตัดสินจำคุก 11 ปี นายอรัญเรียกร้องให้แรงงานไทยอย่าเดินซ้ำรอยของตน เนื่องจากเขียนได้ใจความ เข้าใจง่ายและใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสม แสดงออกถึงความสำนึกในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป เข้าตากรรมการตัดสินได้รับเลือกเป็นผลงานยอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้ว และนายอรัญจัดเป็นผู้ต้องขังชาวต่างชาติรายแรกที่ได้รับรางวัลจากกิจกรรมที่ทางการไต้หวันจัดขึ้น ดังนั้นสื่อมวลชนอย่างเหลียนเหอเป้า หรือยูไนเต็ดเดลินิวส์ หนังสือพิมพ์ยักษ์ในวงการสื่อของไต้หวัน ฉบับวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา จึงลงข่าวการได้รับรางวัลของผู้ต้องขังชาวไทยรายนี้อย่างครึกโครม
หนังสือพิมพ์เหลียนเหอเป้ากล่าวว่า นายอรัญ โมดี ผู้ต้องขังคดีฆ่าคน ส่งผลงานเล่าถึงบทเรียนที่ต้องซื้อด้วยราคาแพง เข้าร่วมประกวดโคลงกลอนสำหรับแรงงานต่างชาติของกองแรงงานเทศบาลกรุงไทเป จัดเป็นผลงานชิ้นแรกที่ส่งมาจากเรือนจำ โดยนายอรัญ ซึ่งเป็นผู้ฟัง RTI รายการวิทยุภาคภาษาไทย ได้ยินข่าวเชิญชวนเข้าร่วมประกวดบทโคลงกลอนจากในรายการ จึงตัดสินใจเขียนเล่าประสบการณ์ที่แสนจะเจ็บปวดของตน เพื่อเป็นการเตือนสติเพื่อนร่วมชาติที่กำลังหลงมัวเมากับอบายมุข ขอให้กลับตัวกลับใจ ก่อนจะประสบชะตาชีวิตเช่นตน แต่เนื่องจากจำที่อยู่ของกองแรงงานเทศบาลกรุงไทเปไม่ได้ จึงส่งผลงานไปยังสถานีวิทยุ RTI ขอให้ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่จัดการประกวด
กองแรงงาน เทศบาลกรุงไทเปกล่าวว่า มีกำหนดจัดงานมอบรางวัลแก่เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลทั้ง 18 คน ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคมศกนี้ ณ ที่ทำการเทศบาลกรุงไทเป โดยมีนายเฉินเย่ซิน ผู้อำนวยการกองแรงงานกรุงไทเป เป็นผู้มอบรางวัล ส่วนนายอรัญ ซึ่งเป็นผู้ต้องขังไม่สามารถมารับรางวัลได้ ทางกองแรงงานได้เรียนเชิญ น.ส. อริยา ลิ้มสุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงาน ไทเป เป็นผู้รับแทน จากนั้นทางสำนักงานแรงงานฯ จะจัดส่งเงินรางวัล 5,000 เหรียญไต้หวันและโล่เกียรติคุณไปยังเรือนจำกลางไทเป เพื่อมอบให้นายอรัญต่อไป
ทั้งนี้ นายอรัญ โมดี อายุ 27 ปี ภูมิลำเนาอยู่ตำบลวัดตายม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เดินทางมาทำงานเป็นพนักงานชุบโลหะของบริษัท Tongchuan Enterprise ที่เมืองหยางเหมย เขตเถาหยวน เมื่อกลางดึกวันที่ 7 ธ.ค. 2551 นายอรัญ ซึ่งอยู่ในอาการเมาสุราได้ใช้ท่อนไม้ตี แล้วใช้มีดปอกผลไม้ปาดคอนายสนอง บัวจำ อายุ 37 ปี มาจาก ต.นครป่าหมาก จ.พิษณุโลก เพื่อนร่วมโรงงานเดียวกัน จนเสียชีวิตในสวนแห่งหนึ่งข้างทาง ขณะกลับจากเที่ยวดิสโก้เทคในเมืองหยางเหมยด้วยกัน เนื่องจากเกิดเรื่องบาดหมางในวงสุรา วันต่อมาเจ้าของสวนไปพบศพ จึงแจ้งความต่อตำรวจและจับกุมนายอรัญได้ โดยนายอรัญรับสารภาพว่า เดิมคิดจะสั่งสอนนายสนองเท่านั้น แต่ลงมือหนักไปหน่อย จึงใช้มีดปอกผลไม้ที่ผู้ตายพกติดตัวปาดคอจนหลอดลมขาด เพื่อป้องกันผีผู้ตายนำเรื่องไปฟ้อง และตามมาหลอกหลอนอาฆาตตน ต่อมาศาลท้องถิ่นเมืองเถาหยวนพิพากษาจำคุกนายอรัญ 11 ปี ข้อหาฆ่าคนตาย ซึ่งมีกำหนดจะพ้นโทษในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562
คลิกอ่าน "เงาสะท้อนอีกด้านของแรงงานต่างชาติ" ผลงานของนายอรัญ โมดี
การประกวดร้อยกรองและร้อยแก้วสำหรับแรงงานต่างชาติ ประจำปี 2010
คลิกอ่าน "เงาสะท้อนอีกด้านของแรงงานต่างชาติ" ผลงานของนายอรัญ โมดี
การประกวดร้อยกรองและร้อยแก้วสำหรับแรงงานต่างชาติ ประจำปี 2010
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น