กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีมติให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 3.47% หรือปรับขึ้น 600 เหรียญ จากปัจจุบัน 17,280 เหรียญเป็น 17,880 เหรียญไต้หวัน หลังผ่านการอนุมัติจากสภาบริหารแล้ว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ปี 2553 เป็นต้นไป และประธานสหพันธ์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไต้หวัน ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายนายจ้างกล่าวในที่ประชุมว่า ทางสหพันธ์เห็นว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดได้แก่ แรงงานต่างชาติ ดังนั้นจึงควรแยกแรงงานต่างชาติออกจากกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ ปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้กำหนดค่าจ้างเอง ทางสหพันธ์จะมีการผลักดันในเรื่องนี้ต่อไป จนกว่าจะสำเร็จนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางหวางหรูเสวียน ประธาน คณะกรรมการการแรงงานหรือ CLA ของไต้หวันกล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำและแรงงานต่างชาติจะแยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งนี้เพราะเกี่ยวพันธ์กับประเด็นต่างๆ หลายเรื่อง เช่นสิทธิมนุษย์ชนสากลและจะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อโอกาสทำงานและการปรับขึ้นค่าจ้างของแรงงานท้องถิ่นเป็นต้น ดังนั้นจะไม่ยอมให้มีการแยกออก
จากกันอย่างเด็ดขาด หากทำไม่ได้ก็จะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง
จากกันอย่างเด็ดขาด หากทำไม่ได้ก็จะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง
ประธาน CLA กล่าวว่า การแยกค่าจ้างขั้นต่ำและแรงงานต่างชาติออกจากกัน ไม่เพียงแต่จะทำให้นานาชาติโจมตีไต้หวันว่า ไม่ให้การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานต่างชาติเท่านั้น ยังจะส่งผลให้นายจ้างหันไปว่าจ้างแรงงานต่างชาติมากขึ้น และกดค่าจ้างแรงงานท้องถิ่นไม่ให้เพิ่มขึ้น
ด้านองค์กรเอ็นจิโอก็พากันไปชุมนุมหน้าสภานิติบัญญัติแสดงจุดยืนคัดค้านการแยกค่าจ้างขั้นต่ำออกจากแรงงานต่างชาติว่านายจ้างเอะอะก็เรียกร้องให้แยกค่าจ้างขั้นต่ำออกจากแรงงานต่างชาติ แต่ในสภาพความเป็นจริง นายจ้างได้แยกค่าจ้างขั้นต่ำออกจากแรงงานต่างชาตินานแล้ว ดูได้จากการเดินทางมาทำงานของแรงงานต่างชาติ นอกจากต้องจ่ายค่าบริการจัดหางานให้กับบริษัทจัดหางานในอัตราสูงแล้ว แต่ละเดือนยังถูกนายจ้างหักค่าอาหารที่พัก และค่าบริการรายเดือน ทำให้ค่าจ้างที่ได้รับในปีแรก เหลือประมาณ 4,000-5,000 เหรียญไต้หวันเท่านั้น และเมื่อค่าจ้างแรงงานต่างชาติอยู่ในระดับต่ำ ก็จะฉุดให้ค่าจ้างแรงงานท้องถิ่นต่ำไปด้วย องค์กรเอ็นจิโอเสนอว่า นอกจากจะแยกค่าจ้างขั้นต่ำและแรงงานต่างชาติออกจากกันไม่ได้แล้ว CLA ยังควรทยอยยกเลิกค่าอาหารและที่พักที่นายจ้างเรียกรับจากแรงงานต่างชาติด้วย เพื่อให้ค่าจ้างแรงงานต่างชาติและแรงงานท้องถิ่นมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น นายจ้างจะได้หันมาว่าจ้างคนงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
ด้านเลขาธิการสหพันธ์แรงงานก็กล่าวด้วยว่า การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเสมอภาค เป็นหลักเกณฑ์สากล ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงแรงงานต่างชาติด้วย หากแยกออกจากกัน ค่าจ้างของแรงงานต่างชาติจะถูกกดให้ต่ำลง พลอยส่งผลไปถึงค่าจ้างแรงงานท้องถิ่นถูกฉุดต่ำลงตามไปด้วย และหากค่าจ้างต่ำ ประเทศผู้ส่งออกแรงงานอาจพิจารณาระงับการส่งออกแรงงานมายังไต้หวัน เมื่อถึงเวลานั้น แม้นายจ้างจะต้องการ แต่ก็คงไม่สามารถว่าจ้างคนงานต่างชาติได้อีกแล้ว
ไม่ทราบว่านายจ้างใต้หวันเห็นเราแรงงานต่างชาติเป็นคนเหมือนเขาหรือเปล่าถึงไม่อยากเพิ่มค่าแรงตามกฏหมายทั้งที่เราคนงานต่างชาติมาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนธุรกิของเขา ทั้งที่บางทีงานบางอย่างคนภายในประเทศไม่ยอมทำ
ตอบลบแล้วเมื่อใหร่จะเปิดให้แรงงานต่างชาติอยู่12ปีล่ะ
ตอบลบที่ผ่านมาคิดแล้วเศร้าอะไรๆก็หัก ตัวเลขรายได้เยอะก็จริง แต่ก็ตามหัก
ตอบลบตามเป็นเงา เหมือนโกหกตัวเองว่ารายได้เยอะ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพราะ
ขบวนการค้ามนุษย์แท้ๆ ทำงานแสนเหน็ดเหนื่อยส่วนเขากลับมาเอาเงิน
รายเดือนของเรา เสียค่าหัวก็เยอะไม่ยอมลดละ ไม่โง่ก็ไม่ได้มาเพราะรัฐ
บาลช่วยพวกเราไม่ได้ทั้งที่แรงงานเหล่านี้นำเงินเข้าประเทศปีละไม่น้อย
(ถ้าไม่แก้ไขลูกหลานรุ่นต่อไปก็คงถูกบรรดาขบวนการมนุษต์สูบเลือด
กินบนหลังของลูกหลานต่อๆไป คิดแล้วเศร้า)
ยอมเขาไปเถอะครับ ยังไงเเรงงานไทยก็ต้องไปทำงานอยู่ดีครับ ค่าอาหาร ที่พัก เขาหักก็ไปเขาไป ตราบใดที่เมืองบ้านเราเป็นเเบบนี้ ปัญหาเเรงงานไทยก็เป็นเเบบนี้ละครับท่าจะไปทำงานต่างแดน ทั้งชาติเสียเปรียบครับ อยากให้ดูตัวอย่างเกาหลีใต้ครับ เเรงงานไทยที่นั้นอู้ฟู้ครับ ล่ำซ่ำมากมาย เมื่อมองมาที่ไต้หวันเเล้วเเตกต่างกันมากมาย รัฐบาลไทยรู้ว่าเป็นเเบบไหน ก็ไม่สามารถแก้ไขได้หรอกครับ
ตอบลบ-ที่จริงแล้วมีการแยกค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานต่างชาติกับแรงงานท้องถิ่นนับตั้งแต่ที่ CLA ได้ประกาศอนุญาตให้นายจ้างหักค่าอาหารและที่พักจากค่าจ้างของแรงงานต่างชาติได้นะแหละ ถือว่าเป็นการใช้วิธีการบังคับใช้กฏหมายที่แยบยลเท่านั้นเอง จริงอยู่ระเบียบนี้เริ่มใช้ก่อนประธาน CLA คนปัจจุบัน แต่ถ่าแน่จริงในเมื่อท่านประธานหวังฯ ไม่เห็นด้วยกับค่าจ้างขั้นต่ำไม่เสมอภาคเช่นนี้ท่านก็รีบยกเลิกระเบียบดังกล่าวเสียชิพวกเราชาวแรงงานต่างชาติผู้น้อยทั้งหลายจะได้ยกมือท้วมหัวอนุโมทนาสาธุ ยกให้ท่านเป็นวีรสตรีของชาวแรงงานเลยละ
ตอบลบ-แต่ก็ขอชมเชยนายจ้างบางรายที่มีความกรุณา(น้อยมาก)ที่ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็ขออวยพรให้บรรดานายจ้างที่ดีอย่างนี้จงประสพแต่ความเจริญรุ่งเรือง ค้าขายรวยๆยิ่งๆขึ้นไป
-ใหนๆก็ใหนๆแล้วจะให้ดีก็ขอท่านประธานหวังฯ ถือโอกาสทบทวนระเบียบการหักค่าบริการรายเดือน(1800,1700,1500)ของบริษัทโบร์คเกอร์ไต้หวันว่าที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เพราะนี่ก็ถือว่าเป็นการลดค่าจ้างของแรงงานต่างชาติอีกรายการหนึ่งเช่นกัน
ในฐานะตัวแทนคนไทยที่ถูกเอาเปรียบ
ตอบลบขอรับหน้าที่เอาคืนจากคนไตัหวันเอง
ผมว่าควรยกเลิกค่าเอเย่นมากกว่านะที่ต้องจ่ายทุกเดือนอ่ะ..
ตอบลบเดือนละ1500.NT ผมไม่เห็นเขามาบริการอะไรเลยจิงๆ..
นอกจากมารับไปตรวจโรคกับไปส่งที่สนามบิน..
ทำนาบนหลังคน! ชาติหน้าขอให้กรรมตามทัน สาธุ...